เมนู

3. เรื่องพระติสสเถระ [3]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ
ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ" เป็นต้น.

พระติสสเถระเป็นผู้ว่ายากและถือตัว


ดังได้สดับมา ท่านติสสเถระนั้น เป็นโอรสพระปิตุจฉาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า บวชในกาลเป็นคนแก่ บริโภคลาภสักการะอันเกิด
ขึ้นแล้ว ในพระพุทธศาสนา มีร่างกายอ้วนพี มีจีวรรีดเรียบร้อยแล้ว1
โดยมากนั่งอยู่ที่โรงฉันกลางวิหาร. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย มาแล้ว
เพื่อประโยชน์จะเฝ้าพระตถาคต ไปสู่สำนักแห่งเธอ ด้วยสำคัญว่า
" นี่ จักเป็นพระเถระผู้ใหญ่" ดังนี้แล้ว ถามถึงวัตร ถามถึงกิจควรทำ
มีนวดเท้าเป็นต้น. เธอนิ่งเสีย.
ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งถามเธอว่า "ท่านมีพรรษา
เท่าไร ?" เมื่อเธอตอบว่า " ยังไม่มีพรรษา ข้าพเจ้าบวชแล้ว ใน
กาลเป็นคนแก่" จึงกล่าวว่า "ท่านขรัวตาผู้มีอายุ ฝึกได้ยาก2 ท่าน
ไม่รู้จักประมาณตน, ท่านเห็นพระเถระผู้ใหญ่มีประมาณเท่านี้แล้ว ไม่
ทำวัตรแม้มาตรว่าสามีจิกรรม เมื่อวัตรอันพระเถระเหล่านี้ถามโดย
เอื้อเฟื้ออยู่ ท่านนิ่งเสีย, แม้มาตรว่าความรังเกียจ ก็ไม่มีแก่ท่าน"

1. อาโกฏิตปฺปจฺจาโกฏิเตหิ แปลว่า ทุบแล้วและทุบเฉพาะแล้ว. 2. แนะนำยาก.

ดังนี้ จึงโบกมือ (เป็นที่รุกราน). เธอยังขัตติยมานะให้เกิดขึ้นแล้ว
ถามว่า "พวกท่านมาสู่สำนักใคร ?" เมื่ออาคันตุกภิกษุเหล่านั้นตอบว่า
"มาสู่สำนักของพระศาสดา" จึงกล่าวว่า " ก็พวกท่านคาดข้าพเจ้าว่า
" นี่ใคร ? ' ข้าพเจ้าจักตัดมูล1ของพวกท่านเสียให้ได้" ดังนี้แล้ว ร้องไห้
เป็นทุกข์ เสียใจ ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดาแล้ว.

พระติสสะทูลเรื่องแด่พระศาสดา


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า "ติสสะ เป็นอะไรหนอ ?
เธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ มีน้ำตาอาบหน้า ร้องไห้ มาแล้ว." ฝ่ายภิกษุ
เหล่านั้น (คือพวกภิกษุอาคันตุกะ) คิดว่า "ภิกษุนั้น คงไปทำกรรม
ขุ่นมัวอะไร ๆ " ดังนี้ จึงไปกับพระติสสะนั้นทีเดียว ถวายบังคมพระ-
ศาสดาแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระติสสะนั้น อันพระศาสดา
ตรัสถามแล้ว ได้กราบทูลว่า " พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเหล่านี้ด่าข้า
พระองค์."
ศ. ก็เธอนั่งแล้วที่ไหน ?
ต. ที่โรงฉันกลางวิหาร พระเจ้าข้า.
ศ. ภิกษุเหล่านี้มา เธอได้เห็นหรือ ?
ต. เห็น พระเจ้าข้า.
ศ. เธอได้ลุกขึ้นทำการต้อนรับหรือ ?
ต. ไม่ได้ทำ พระเจ้าข้า.

1. ตัดความเป็นสมณะ คือ ให้ขาดจากสมณภาพ.