เมนู

ใจเป็นใหญ่ในกรรมทุกอย่าง


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พวกชนเหล่านั้นว่า "ในการทำ
กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นใหญ่, เพราะว่า
กรรมที่ทำด้วยใจอันผ่องใสแล้ว ย่อมไม่ละบุคคลผู้ไปสู่เทวโลกมนุษยโลก
ดุจเงาฉะนั้น" ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว พระองค์ผู้เป็นธรรมราชา ได้ตรัส
พระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับพระราชสาสน์ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว
ด้วยพระราชลัญจกรว่า:-
2. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนส ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.
" ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็น
ใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส
แล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไป
ตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว
ฉะนั้น.


แก้อรรถ


จิตที่เป็นไปใน 41 ภูมิ แม้ทั้งหมด เรียกว่าใจ ในพระคาถานั้น
ก็จริง โดยไม่แปลกกัน, ถึงอย่างนั้น เมื่อนิยม กะ กำหนดลง ในบทนี้
ย่อมได้แก่จิตเป็นกามาพจรกุศล 8 ดวง; ก็เมื่อกล่าวด้วยสามารถวัตถุ

1. ภูมิ 4 คือ กามาวจรภูมิ 1 รูปาวจรภูมิ 1 อรูปาวจรภูมิ 1 โลกุตรภูมิ 1.

ย่อมได้แก่จิตประกอบด้วยญาณ เป็นไปกับด้วยโสมนัสแม้จากกามาพจร
กุศลจิต 4 ดวงเท่านั้น.
บทว่า ปุพฺพงฺคมา ความว่า ประกอบกับใจซึ่งเป็นผู้ไปก่อนนั้น.
ขันธ์ 3 มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าธรรม. แท้จริง ใจเป็นหัวหน้าของ
อรูปขันธ์ทั้ง 3 มีเวทนาขันธ์เป็นต้นนั้น โดยอรรถคือเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้เกิดขึ้น เหตุนั้นขันธ์ทั้ง 3 ประการนั่น จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า.
เหมือนอย่างว่า เมื่อทายกเป็นอันมาก กำลังทำบุญ มีถวายบาตรและ
จีวรเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ดี มีบูชาอันยิ่ง และฟังธรรม และ
ตามประทีป และทำสักการะด้วยระเบียบดอกไม้เป็นต้นก็ดี ด้วยกัน
เมื่อมีผู้กล่าวว่า "ใครเป็นหัวหน้าของทายกเหล่านั้น," ทายกผู้ใดเป็น
ปัจจัยของพวกเขา, คือพวกเขาอาศัยทายกผู้ใดจึงทำบุญเหล่านั้นได้,
ทายกผู้นั้น ชื่อติสสะก็ตาม ชื่อปุสสะก็ตาม ประชุมชนย่อมเรียกว่า
"เป็นหัวหน้าของพวกเขา" ฉันใด, คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้เกิด
เนื้อความถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น. ใจชื่อว่าเป็นหัวหน้าของ
ธรรมเหล่านี้ ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัยเครื่องให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้
เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า. แท้จริง ธรรมเหล่านั้น
เมื่อใจไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้, ส่วนใจ เมื่อเจตสิก
บางเหล่าถึงยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้แท้. และใจชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าธรรม
เหล่านี้ ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า
มีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งของทั้งหลายนั้น ๆ เสร็จแล้วด้วยวัตถุมีทองคำ
เป็นต้น ก็ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยทองคำเป็นต้น ฉันใด, ถึงธรรมทั้งหลาย
นั่นก็ได้ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเป็นของเสร็จมาแต่ใจ ฉันนั้น.

บทว่า ปสนฺเนน ความว่า ผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลาย มี
ความไม่เพ่งเล็งเป็นต้น.
สองบทว่า ภาสติ วา กโรติ วา ความว่า บุคคลมีใจเห็น
ปานนี้ เมื่อจะพูด ย่อมพูดแต่วจีสุจริต 4 อย่าง เมื่อจะทำ ย่อมทำ
แต่กายสุจริต 3 อย่าง เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ ย่อมทำแต่มโนสุจริต 3
อย่างให้เต็มที่ เพราะความที่ตัวเป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลาย
มีความไม่เพ่งเล็งเป็นต้นนั้น. กุศลกรรมบถ 10 ของเขาย่อมถึงความ
เต็มที่ ด้วยประการอย่างนี้.
บาทพระคาถาว่า ตโต นํ สุขมเนฺวติ ความว่า ความสุข
ย่อมตามบุคคลนั้นไป เพราะสุจริต 3 อย่างนั้น. กุศลทั้ง 3 ภูมิ1
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง
ทราบอธิบายว่า "ความสุขที่เป็นผล ซึ่งเป็นไปในกายและเป็นไปในจิต
(โดยบรรยายนี้) ว่า ' ความสุขมีกายเป็นที่ตั้งบ้าง ความสุขมีจิตนอกนี้
เป็นที่ตั้งบ้าง' ย่อมตามไป คือว่า ย่อมไม่ละบุคคลนั้น ผู้เกิดแล้วใน
สุคติภพก็ดี ตั้งอยู่แล้วในที่เสวยสุขในสุคติก็ดี เพราะอานุภาพแห่งสุจริต
ที่เป็นไปในภูมิ 3. มีคำถามสอดเข้ามาว่า "เหมือนอะไร" แก้ว่า
" เหมือนเงามีปกติไปตามตัว" อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมดา
เงาเป็นของเนื่องกับสรีระ เมื่อสรีระเดินไป มันก็เดินไป, เมื่อสรีระหยุดอยู่
มันก็หยุด, เมื่อสรีระนั่ง มันก็นั่ง, ไม่มีใครสามารถที่จะว่ากล่าวกะมัน
ด้วยถ้อยคำอันละเอียดก็ดี ด้วยถ้อยคำอันหยาบก็ดีว่า "เจ้าจงกลับไปเสีย

1. ภูมิ 3 คือ กามาวจรภูมิ 1 รูปาวจรภูมิ 1 อรูปาวจรภูมิ 1.

หรือเฆี่ยนตีแล้วจึงให้กลับได้." ถามว่า "เพราะเหตุไร ?" ตอบว่า
"เพราะมันเป็นของเนื่องกับสรีระ ฉันใด. ความสุขที่เป็นไปในกายและ
"เพราะมันเป็นของเนื่องกับสรีระ ฉันใด. ความสุขที่เป็นไปในกายและ
เป็นไปในจิต ต่างโดยสุขมีกามาพจรสุขเป็นต้น มีกุศลแห่งกุศลกรรมบถ
10 เหล่านี้ ที่บุคคลประพฤติมากแล้ว และประพฤติดีแล้ว เป็นรากเหง้า
ย่อมไม่ละ (บุคคลนั้น) ในที่แห่งเขาไปแล้วและไปแล้ว เหมือนเงาไป
ตามตัว ฉันนั้นแล."
ในกาลจบคาถา ความตรัสรู้ธรรม ได้มีแล้วแก่เหล่าสัตว์แปด
หมื่นสี่พัน, มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ตั้งอยู่แล้วในพระโสดาปัตติผล,
อทินนปุพพกพราหมณ์ ก็เหมือนกัน. เขาได้หว่านสมบัติใหญ่ถึงเท่านั้น
ลงไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องมัฏฐกุณฑลี จบ.

3. เรื่องพระติสสเถระ [3]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ
ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ" เป็นต้น.

พระติสสเถระเป็นผู้ว่ายากและถือตัว


ดังได้สดับมา ท่านติสสเถระนั้น เป็นโอรสพระปิตุจฉาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า บวชในกาลเป็นคนแก่ บริโภคลาภสักการะอันเกิด
ขึ้นแล้ว ในพระพุทธศาสนา มีร่างกายอ้วนพี มีจีวรรีดเรียบร้อยแล้ว1
โดยมากนั่งอยู่ที่โรงฉันกลางวิหาร. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย มาแล้ว
เพื่อประโยชน์จะเฝ้าพระตถาคต ไปสู่สำนักแห่งเธอ ด้วยสำคัญว่า
" นี่ จักเป็นพระเถระผู้ใหญ่" ดังนี้แล้ว ถามถึงวัตร ถามถึงกิจควรทำ
มีนวดเท้าเป็นต้น. เธอนิ่งเสีย.
ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งถามเธอว่า "ท่านมีพรรษา
เท่าไร ?" เมื่อเธอตอบว่า " ยังไม่มีพรรษา ข้าพเจ้าบวชแล้ว ใน
กาลเป็นคนแก่" จึงกล่าวว่า "ท่านขรัวตาผู้มีอายุ ฝึกได้ยาก2 ท่าน
ไม่รู้จักประมาณตน, ท่านเห็นพระเถระผู้ใหญ่มีประมาณเท่านี้แล้ว ไม่
ทำวัตรแม้มาตรว่าสามีจิกรรม เมื่อวัตรอันพระเถระเหล่านี้ถามโดย
เอื้อเฟื้ออยู่ ท่านนิ่งเสีย, แม้มาตรว่าความรังเกียจ ก็ไม่มีแก่ท่าน"

1. อาโกฏิตปฺปจฺจาโกฏิเตหิ แปลว่า ทุบแล้วและทุบเฉพาะแล้ว. 2. แนะนำยาก.