เมนู

ทัสนะ1ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความสิเนหาในบุตรไหน ๆ ไม่เกิดเลย,
จิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดา
ไม่อาจทำให้ได้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
9. น ตํ มาตา ปิตา กริยา อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.
"มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำ
เหตุนั้น (ให้ได้), (แต่) จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ความว่า มารดาบิดา (และ)
ญาติเหล่าอื่น ไม่ทำเหตุนั้นได้เลย.
บทว่า สมฺมาปณิหิตํ คือ ชื่อว่า ตั้งไว้ชอบแล้ว เพราะความ
เป็นธรรมชาติตั้งไว้ชอบในกุศลกรรมบถ 10.
บาทพระคาถาว่า เสยฺยโส นํ ตโต กเร. ความว่า พึงทำ
คือย่อมทำเขาให้ประเสริฐว่า คือเลิศกว่า ได้แก่ให้ยิ่งกว่าเหตุนั้น.
จริงอยู่ มารดาบิดา เมื่อจะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ย่อมอาจให้
ทรัพย์สำหรับไม่ต้องทำการงานแล้วเลี้ยงชีพโดยสบาย ในอัตภาพเดียว
เท่านั้น, ถึงมารดาบิดาของนางวิสาขา ผู้มีทรัพย์มากมายถึงขนาด มีโภคะ
มากมาย ได้ให้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพโดยสบายแก่นาง ในอัตภาพเดียว

1. บาลีบางแห่งว่า มตฺตสฺส ทิฏฺฐกาลโต แต่กาลเห็นมรรค.