เมนู

8. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหํติ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร
"จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น
ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร
หรือคนจองเวรเห็นคนจองเวรทำ (แก่กัน) นั้น
(เสียอีก)."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทิโส ทิสํ แปลว่า โจรเห็นโจร.
ศัพท์ว่า ทิสฺวา เป็นพระบาลีที่เหลือ (บัณฑิตพึงเพิ่มเข้า).
สองบทว่า ยนฺตํ กยิรา ความว่า พึงทำซึ่งความพินาศฉิบหาย
นั้นใดแก่โจรหรือคนจองเวรนั้น. ถึงในบทที่ 2 ก็มีนัยเช่นเดียวกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "โจรผู้มักประทุษ-
ร้ายต่อมิตรผู้หนึ่ง เมื่อผิดในบุตร ภริยา นา ไร่ วัวและควายเป็นต้น
ของโจรผู้หนึ่ง โจรผิดต่อโจรใด, เห็นโจรแม้นั้นซึ่งผิดอยู่ในตนอย่างนั้นนั่น
แหละ, ก็หรือว่าคนจองเวรเห็นชนผู้ผูกเวรกันไว้ด้วยเหตุบางอย่างนั่นแหละ
ซึ่งชื่อว่า ผู้จองเวร, ชื่อว่าพึงทำความพินาศฉิบหายอันใดแก่โจรหรือคน
ผู้จองเวรนั้น คือพึงเบียดเบียนบุตรและภริยาของโจรหรือคนจองเวรนั้น
พึงทำสิ่งของต่าง ๆ มีนาเป็นต้นของโจร หรือของคนจองเวรนั้นให้ฉิบหาย
หรือพึงปลงซึ่งโจรหรือคนจองเวรนั้นจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคน
โหดร้าย คือเพราะความที่ตนเป็นคนทารุณ, จิตชื่อว่าตั้งไว้ผิด เพราะ
ความเป็นจิตตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ 10 พึงทำให้เขาเลวทรามยิ่งกว่า