เมนู

8. เรื่องนันทโคปาลกะ [31]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในโกศลชนบท ทรงปรารภนายโคบาลก์
ชื่อนันทะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทิโส ทิสํ " เป็นต้น.

นายนันทะหลบหลีกราชภัย


ดังได้สดับมา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ในกรุงสาวัตถี เป็นคน
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก รักษาฝูงโคของคฤหบคีชื่ออนาถบิณฑิกะ
อยู่. นัยว่า นายนันทโคบาลก์นั้น หลบหลีกความบีบคั้นแห่งพระราชา
ด้วยความเป็นคนเลี้ยงโค อย่างชฎิลชื่อเกณิยะ หลบหลีกความบีบคั้นแห่ง
พระราชาด้วยเพศบรรพชิต รักษาขุมทรัพย์ของตนอยู่. เขาถือเอาปัญจ-
โครสตลอดกาลสมควรแก่กาล (ตามกำหนดเวลา) มาสู่สำนักของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี พบพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ทูลวิงวอนพระศาสดา
เพื่อต้องการให้เสด็จมาสู่ที่อยู่ของตน.

พระศาสดาไปโปรดนายนันทะ


พระศาสดา ทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเขาอยู่ ไม่เสด็จ
ไปแล้ว (ครั้น) ทรงทราบความที่เขาเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว วันหนึ่ง
อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปอยู่ ทรงแวะจากหนทาง
ประทับนั่งแล้ว ที่โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งใกล้สถานที่อยู่ของเขา