เมนู

มีพระรูปปรากฏอยู่ ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺ1วา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน2 สิยา.
"[บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ , กั้นจิต
อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปมํ ความว่า รู้จักกายนี้ คือ
ที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือ
เช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.
บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า
ธรรมดานคร มีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม
ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน 4 แพร่ง มีร้านตลาดใน
ระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิด
ว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระ-
ท้อนกลับไป ฉันใด, กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนา
จิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้น ๆ

1. ฐเปตฺวา. 2. อรรถกถา ว่า อนิเวสโน.

พึงฆ่า ด้วยอาวุธคือปัญญาอันสำเร็จแล้วด้วยวิปัสสนา และสำเร็จแล้วด้วย
อริยมรรค ชื่อว่าพึงรบ คือพึงประหารกิเลสมารนั้น ดุจนักรบยืนอยู่ใน
นคร รบหมู่โจรด้วยอาวุธมีประการต่าง ๆ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น
ฉะนั้น."
สองบทว่า ชิตญฺจ รกฺเข ความว่า กุลบุตร เมื่อต้องเสพอาวาส
เป็นที่สบาย ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และการฟังธรรมเป็นเหตุ
สบายเป็นต้น เข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ ออกจากสมาบัตินั้นพิจารณา
สังขารทั้งหลายด้วยจิตหมดจด ชื่อว่าพึงรักษาธรรมที่ชนะแล้ว คือวิปัสสนา
อย่างอ่อนที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว.
สองบทว่า อนิเวสโน สิยา ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่มีอาลัย.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า นักรบ ทำซุ้มเป็นที่พักพลในภูมิ
ประเทศเป็นที่ประชิดแห่งสงคราม1 รบอยู่กับพวกอมิตร เป็นผู้หิว
หรือกระหายแล้ว เมื่อเกราะหย่อนหรือเมื่ออาวุธพลัดตก ก็เข้าไปยังซุ้ม
เป็นที่พักพล พักผ่อน กิน ดื่ม ผูกสอด ( เกราะ.) จับอาวุธแล้ว
ออกรบอีก ย่ำยีเสนาของฝ่ายอื่น ชนะปรปักษ์ที่ยังมิได้ชนะ รักษาชัยชนะ
ที่ชนะแล้ว. ก็ถ้าว่านักรบนั้น เมื่อพักผ่อนอย่างนั้นในซุ้มเป็นที่พักพล
ยินดีซุ้มเป็นที่พักพลนั้น พึงพักอยู่ ก็พึงทำรัชสมบัติให้เป็นไปในเงื้อมมือ
ของปรปักษ์ฉันใด, ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นเข้าสมาบัติ ออกจาก
สมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยจิตอันหมดจด ย่อมสามารถรักษา
วิปัสสนาอย่างอ่อน ที่ได้เฉพาะแล้ว ย่อมชนะกิเลสมาร ด้วยความได้
เฉพาะซึ่งมรรคอันยิ่ง, ก็ถ้าว่า ภิกษุนั้น ย่อมพอใจสมาบัติ อย่างเดียว ไม่

1. สงฺคามสีเส ในสีสประเทศแห่งสงคราม คือในสมรภูมิหรือสนามรบ.

หมั่น พิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยจิตอันหมดจด ย่อมไม่สามารถทำการ
แทงตลอดมรรคและผลได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรักษาธรรมที่ควร
รักษา พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ คือพึงทำสมาบัติให้เป็นที่เข้าพักแล้วไม่ติดอยู่
ได้แก่ไม่พึงทำอาลัยในสมาบัตินั้น. พระศาสดาตรัสว่า " เธอทั้งหลาย
จงทำอย่างนั้น. " พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูปนั่งในที่นั่งเทียว บรรลุพระ-
อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สรรเสริญชมเชยทั้งถวายบังคมพระ-
สรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองของพระตถาคต มาแล้ว ดังนี้แล
เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา จบ.

7. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [30]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจิรํ วตยํ กาโย"
เป็นต้น.

พระเถระกายเน่า


ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนัก
ของพระศาสดา ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ได้ชื่อว่า พระติสสเถระ. เมื่อกาลล่วงไป ๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน.
ต่อมทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ
ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ ประมาณเท่าเมล็ด
กระเบา ประมาณเท่าผลมะขามป้อม ประมาณเท่าผลมะตูม แตกแล้ว.
สรีระทั้งสิ้น ได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระ-
ปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า). ต่อมา ในกาลเป็นส่วน
อื่น กระดูกของท่าน แตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใคร ๆ ปฏิบัติไม่ได้.
ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห.
พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้ง
แล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งนอน ( แซ่ว ) แล้ว.