เมนู

มีพระรูปปรากฏอยู่ ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺ1วา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน2 สิยา.
"[บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ , กั้นจิต
อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปมํ ความว่า รู้จักกายนี้ คือ
ที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือ
เช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.
บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า
ธรรมดานคร มีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม
ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน 4 แพร่ง มีร้านตลาดใน
ระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิด
ว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระ-
ท้อนกลับไป ฉันใด, กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนา
จิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้น ๆ

1. ฐเปตฺวา. 2. อรรถกถา ว่า อนิเวสโน.