เมนู

เป็นอาทิ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยาย
เมตตสูตรนี้ จำเดิมแต่ไพรสณฑ์ภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ภายในวิหาร"
ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว. ภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดา ออกไปถึง
ไพรสณฑ์นั้นโดยลำดับ พากันสาธยายเป็นหมู่ในภายนอกวิหาร เข้าไปสู่
ไพรสณฑ์แล้ว

เทวดากลับได้เมตตาจิต


พวกเทวดาในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น กลับได้เมตตาจิต ทำการต้อนรับ
ภิกษุเหล่านั้น, ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร. ถามโดยเอื้อเฟื้อ
ถึงการนวดฟั้นกาย, ทำการอารักขาให้อย่างเรียบร้อยในที่นั้นแก่พวกเธอ,
( เทวดา ) ได้เป็นผู้นั่งสงบ ดังพนมจักร. ขึ้นชื่อว่าเสียงแห่งอมนุษย์
มิได้มีแล้วในที่ไหน ๆ. จิตของภิกษุเหล่านั้น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. พวก
เธอนั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา
เริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในตนคิดว่า "ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้เช่นกับภาชนะ
คืน เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้ว.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคาถากำชับ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงทราบ
ว่าภิกษุเหล่านั้น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึงทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ตรัสว่า
"อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นกับ
ด้วยภาชนะดินโดยแท้ เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้แล้ว
ทรงฉายพระโอภาสไป แม้ประทับอยู่ในที่ 100 โยชน์ ก็เป็นประหนึ่ง
ประทับนั่งในที่เฉพาะหน้าของภิกษุเหล่านั้น ทรงฉายพระฉัพพรรณรังสี

มีพระรูปปรากฏอยู่ ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺ1วา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน2 สิยา.
"[บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ , กั้นจิต
อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปมํ ความว่า รู้จักกายนี้ คือ
ที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือ
เช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถ
ว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.
บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า
ธรรมดานคร มีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม
ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน 4 แพร่ง มีร้านตลาดใน
ระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิด
ว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระ-
ท้อนกลับไป ฉันใด, กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนา
จิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้น ๆ

1. ฐเปตฺวา. 2. อรรถกถา ว่า อนิเวสโน.