เมนู

ภิกษุเหล่านั้น ออกไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาประทานอาวุธ


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจักไม่อาจเพื่ออยู่ในที่นั้นหรือ ?"
ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า อารมณ์อันน่ากลัวเห็นปานนี้ ปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พำนักอยู่ในที่นั้น, เพราะเหตุนั้น จึงมีความ
ไม่ผาสุกเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงคิดว่า " ที่นี้
เป็นที่ควรเว้น." ทิ้งที่นั้นมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว.
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปในที่นั้นนั่นแลสมควร.
ภิกษุ. ไม่อาจ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่เอาอาวุธไป, บัดนี้พวก
เธอจงเอาอาวุธไปเถิด.
ภิกษุ. ถือเอาอาวุธชนิดไหนไป ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า " เราจักให้อาวุธแก่พวกเธอ. พวกเธอจงถือ
เอาอาวุธที่เราให้ไป " ดังนี้แล้ว ตรัสเมตตสูตรทั้งสิ้นว่า
"ผู้รู้สันตบท (บทอันสงบ) พึงกระทำสิกขา 3
หมวดใด, ผู้ฉลาดในประโยชน์ ควรกระทำสิกขา 3
หมวดนั้น ผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเป็นผู้องอาจ
เป็นผู้ตรง เป็นผู้ซื่อตรง เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้
ไม่ทะนงตัว."

เป็นอาทิ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยาย
เมตตสูตรนี้ จำเดิมแต่ไพรสณฑ์ภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ภายในวิหาร"
ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว. ภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดา ออกไปถึง
ไพรสณฑ์นั้นโดยลำดับ พากันสาธยายเป็นหมู่ในภายนอกวิหาร เข้าไปสู่
ไพรสณฑ์แล้ว

เทวดากลับได้เมตตาจิต


พวกเทวดาในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น กลับได้เมตตาจิต ทำการต้อนรับ
ภิกษุเหล่านั้น, ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร. ถามโดยเอื้อเฟื้อ
ถึงการนวดฟั้นกาย, ทำการอารักขาให้อย่างเรียบร้อยในที่นั้นแก่พวกเธอ,
( เทวดา ) ได้เป็นผู้นั่งสงบ ดังพนมจักร. ขึ้นชื่อว่าเสียงแห่งอมนุษย์
มิได้มีแล้วในที่ไหน ๆ. จิตของภิกษุเหล่านั้น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. พวก
เธอนั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา
เริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในตนคิดว่า "ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้เช่นกับภาชนะ
คืน เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้ว.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคาถากำชับ


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงทราบ
ว่าภิกษุเหล่านั้น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึงทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ตรัสว่า
"อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นกับ
ด้วยภาชนะดินโดยแท้ เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้แล้ว
ทรงฉายพระโอภาสไป แม้ประทับอยู่ในที่ 100 โยชน์ ก็เป็นประหนึ่ง
ประทับนั่งในที่เฉพาะหน้าของภิกษุเหล่านั้น ทรงฉายพระฉัพพรรณรังสี