เมนู

ลอย, ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอัน
ราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญ
และบาปได้ ตื่นอยู่."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส พระศาสดา
ทรงแสดงเนื้อความว่า " ชื่อว่าจิตนี้ ของใคร ๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง;
ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหน ๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บน
หลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบน
ศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์
บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอัน
เป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปัก-
ขิยธรรม1 37 ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มี
ศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญาแม้
เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระ
จักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า ?
บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว.
ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูก
โทสะกระทบแล้วไว้ในอาคตสถานว่า2 " มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดัง
เสาเขื่อน."

1. มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ 37 เป็นประเภท.
2. ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. 35/510. ม. มู. 12/206.

แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า
" ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ."
บทว่า ปุญฺญปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วย
มรรคที่ 4 คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ ความว่า ความไม่มีภัย
ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็
ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่า ตื่นแล้ว เพราะประกอบด้ายธรรมเป็นเหตุตื่น
ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน)
ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัยคือกิเลสชื่อว่าย่อมไม่มี
เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า
ย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ
ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า " กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก; กิเลสเหล่าใด อันอริย-
บุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก " ดังนี้.
เทศนาได้มีประโยชน์ มีผล แก่มหาชนแล้ว.

กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้


ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ หยาบนัก, กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระ-
อรหัตเห็นปานนี้ ยังถูกกิเลสให้มัวหมองได้ (ต้อง) เป็นคฤหัสถ์ 7 ครั้ง