เมนู

นี้อีกคราวหนึ่งเถิด." ภิกษุเหล่านั้นจึงให้เขาบวชแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง
อุปการะ

บรรลุพระอรหัตแล้วถูกหาว่าพูดไม่จริง


ได้ 2-3 วันเท่านั้น เธอก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ภิกษุแม้เหล่านั้น พูดกับเธอว่า " คุณจิตตหัตถ์ คุณควรรู้สมัยที่คุณจะ
ไปโดยแท้. ทำไม ในครั้งนี้ คุณจึงชักช้าอยู่เล่า ?" เธอกล่าวว่า " พวก
ผมไปแล้วในเวลาที่มีความเกี่ยวข้องดอก1 ขอรับ ความเกี่ยวข้องนั้น ผม
ตัดได้แล้ว, ต่อไปนี้ พวกผมมีความไม่ไปเป็นธรรมดา." พวกภิกษุ
พากันไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุนี้ ถูกพวกข้าพระองค์พูดอย่างนี้ กล่าวชื่ออย่างนี้ เธอพยากรณ์
พระอรหัต เธอพูดคำไม่จริง." พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุ
ทั้งหลาย บุตรของเรา ได้ทำการไปและการมา ในเวลาไม่รู้พระสัทธรรม
ในเวลาที่ตนยังมีจิตไม่มั่นคง, บัดนี้ บุตรของเรานั่นละบุญและบาปได้
แล้ว" ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า
5. อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ
อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.
"ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อน


1. หมายถึง กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง.

ลอย, ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอัน
ราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญ
และบาปได้ ตื่นอยู่."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส พระศาสดา
ทรงแสดงเนื้อความว่า " ชื่อว่าจิตนี้ ของใคร ๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง;
ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหน ๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บน
หลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบน
ศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์
บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอัน
เป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปัก-
ขิยธรรม1 37 ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มี
ศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญาแม้
เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระ
จักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า ?
บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว.
ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูก
โทสะกระทบแล้วไว้ในอาคตสถานว่า2 " มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดัง
เสาเขื่อน."

1. มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ 37 เป็นประเภท.
2. ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. 35/510. ม. มู. 12/206.