เมนู

5. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ [28]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อจิตตหัตถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส"

เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย


ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง แสวงหาโคผู้ที่หายไปอยู่
จึงเข้าป่า พบโคผู้ในเวลาเที่ยง ปล่อยเข้าฝูงแล้วคิดว่า " เราจักได้วัตถุ
สักว่าอาหาร ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแน่แท้" ถูกความหิวกระ-
หายรบกวนแล้ว จึงเข้าไปสู่วิหาร ถึงสำนักของภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลาย
ฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูก
ความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า " เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด," ก็ชื่อว่า
ในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยา
อัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว
ถามว่า " ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้ว
หรือ ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า " อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนือง ๆ โดยทำนองนี้เทียว."

เขาบวชเป็นภิกษุ


เขาคิดว่า " พวกเรา ลุกขึ้นแล้ว ครั้นลุกขึ้นแล้ว แม้ทำการงาน

เนือง ๆ ตลอดคืนและวัน ก็ยังไม่ได้ภัตมีกับอันอร่อยอย่างนี้, ได้ยินว่า
ภิกษุเหล่านี้ย่อมฉันเนือง ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์,
เราจักเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.
ลำดับนั้น พวกภิกษุพูดกะเขาว่า " เป็นการดี อุบาสก" ให้เขาบรรพชา
แล้ว. เขาได้อุปสมบทแล้ว ทำวัตรและปฏิวัตร ซึ่งเป็นอุปการะแก่ภิกษุ
ทั้งปวง. เธอได้มีสรีระอ้วนท้วนโดยกาลล่วงไป 2-3 วัน เพราะลาภ
และสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธะ1ทั้งหลาย.

เขาบวช ๆ สึก ๆ ถึง 6 ครั้ง


แต่นั้น เธอคิดว่า " เราจักต้องการอะไรด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา
เลี้ยงชีพ, เราจักเป็นคฤหัสถ์." เธอสึกเข้าเรือนแล้ว. เมื่อกุลบุตร [ทิด
สึกใหม่] นั้น ทำการงานอยู่ในเรือน โดย 2 - 3 วัน เท่านั้น สรีระ
ก็ซูบผอม. แต่นั้นเธอคิดว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยทุกข์นี้, เรา
จักเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว ก็กลับมาบวชใหม่. เธอยับยั้งอยู่ไม่ได้กี่วัน
กระสันขึ้นแล้วสึกอีก แต่เธอได้มีอุปการะแก่พวกภิกษุในเวลาบวช. โดย
2 - 3 วัน เท่านั้น เธอก็ระอาใจแม้อีก คิดว่า " ประโยชน์อะไรของ
เราด้วยความเป็นคฤหัสถ์, เราจักบวช" จึงไปไหว้ภิกษุทั้งหลาย ขอ
บรรพชาแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ให้เขาบรรพชาอีกแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งอุปการะ, เขาบวชแล้วก็สึกอยู่อย่างนี้ถึง 6 ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า
" ภิกษุนี่ เป็นไปในอำนาจแห่งจิตเที่ยวไปอยู่" จึงขนานนามแก่เธอว่า
"จิตตหัตถเถระ."

1. ใช้ศัพท์ว่า พุทฺธานํ ในที่นี้ น่าจะหมายถึงพระสัมพุทธะ และอนพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ.