เมนู

สำรวมจิตเป็นเหตุให้พ้นเครื่องผูกของมาร


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " มาเถิดภิกษุ เธออย่าคิดไปเลย,
ธรรมดาจิตนี่มีหน้าที่รับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล, ควรที่ภิกษุจัก
พยายามเพื่อประโยชน์แก่การพ้นจากเครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
4. ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
"ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล
เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชน
เหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรงฺคมํ เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ ) ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพา
เป็นต้น แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี, จิตนั้นย่อมรับอารมณ์
แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคมํ.
อนึ่ง จิต 7-8 ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความ
รวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี, ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้น
ทีละดวง ๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจรํ.
สรีรสัณฐานก็ดี ประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้นเป็นประการก็ดี
ของจิต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสรีรํ.

ถ้ำคือมหาภูต1 4 ชื่อว่า คูหา, ก็จิตนี้อาศัยหทัยรูปเป็นไปอยู่
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คุหาสยํ.
สองบทว่า เย จิตฺตํ ความว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือเป็น
บุรุษหรือสตรี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อไม่ให้กิเลสที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะความฟั่นเฟือนแห่งสติ ชื่อว่า
จักสำรวมจิต คือจักทำจิตให้สงบ ได้แก่ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน.
บาทพระคาถาว่า โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ความว่า ชนเหล่า
นั้นทั้งหมด ชื่อว่าจักพ้นจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 อันนับว่าเป็น
เครื่องผูกแห่งมาร เพราะไม่มีเครื่องผูกคือกิเลส.
ในกาลจบเทศนา พระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ บรรลุโสดาปัตติ-
ผลแล้ว. ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน
เป็นต้นแล้ว. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ จบ.

1. มหาภูต 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม.

5. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ [28]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อจิตตหัตถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส"

เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย


ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง แสวงหาโคผู้ที่หายไปอยู่
จึงเข้าป่า พบโคผู้ในเวลาเที่ยง ปล่อยเข้าฝูงแล้วคิดว่า " เราจักได้วัตถุ
สักว่าอาหาร ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแน่แท้" ถูกความหิวกระ-
หายรบกวนแล้ว จึงเข้าไปสู่วิหาร ถึงสำนักของภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลาย
ฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูก
ความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า " เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด," ก็ชื่อว่า
ในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยา
อัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว
ถามว่า " ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้ว
หรือ ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า " อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนือง ๆ โดยทำนองนี้เทียว."

เขาบวชเป็นภิกษุ


เขาคิดว่า " พวกเรา ลุกขึ้นแล้ว ครั้นลุกขึ้นแล้ว แม้ทำการงาน