เมนู

พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา. ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า ' ใน
พระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์
ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์' ดังนี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น,
กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.
ภิกษุ. อะไร ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม ?
ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ประทานพระโอวาทนี้ว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงรักษา
เฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ
คาถานี้
3. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
"ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมา
ให้."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทุทฺทสํ ได้แก่ ยากที่จะเห็นได้
ด้วยดี. บทว่า สุนิปุณํ ละเอียดที่สุด ได้แก่ ละเอียดอย่างยิ่ง.
บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ ความว่า มักไม่พิจารณา