เมนู

3. เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ [26]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน
(จะสึก ) รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทุทฺทสํ"
เป็นต้น.

พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร


ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐี
ผู้หนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้น1ของตน เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ กระผม
ใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่
กระผมสักอย่างหนึ่ง. "
พระเถระ กล่าวว่า "ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้,
เธอจงถวายสลากภัต2 ถวายปักขิกภัต3 ถวายวัสสาวาสิกภัต4 ถวาย
ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น 3 ส่วน
ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน 1 เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน 1
ถวายทรัพย์ส่วน 1 ไว้ในพระพุทธศาสนา." เขารับว่า "ดีละ ขอรับ"
แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถาม
พระเถระอีกว่า "กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ?
ขอรับ."

1. กุลุปกะ ผู้เข้าไปสู่ตระกูล 2. ภัตที่ยายกถวายตามสลาก. 3. ภัตที่ทายกถวายในวัน
ปักษ์. 4. ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา.

พระเถระ ตอบว่า " ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (และ)
ศีล 5." เขารับไตรสรณะและศีล 5 แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึง
บุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. พระเถระก็แนะว่า " ถ้ากระนั้น เธอจง
รับศีล 10." เขากล่าวว่า " ดีละ ขอรับ " แล้วก็รับ (ศีล 10).
เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพ-
เศรษฐีบุตร. เขาเรียนถามอีกว่า " บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไป
กว่านี้ ยังมีอยู่หรือ ? ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เธอ
จงบวช," จึงออกบวชแล้ว. ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่ง ได้เป็น
อาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, ใน
เวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมมทแล้วมาสู่สำนักของตน (อาจารย์) อาจารย์
กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า "ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจ
นี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร. "
ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้น
มาสู่สำนักของตนว่า " ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร,
ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ."

อยากสึกจนซูบผอม


ท่านคิดว่า "โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวช,
แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเรา ไม่ปรากฏ, เรา
ดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์
(ดีกว่า)." ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหม-
จรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ 32, ไม่เรียนอุเทศ ผอม ซูบซีด