เมนู

ตามระลึกไปตลอด 99 อัตภาพ; แต่เราแลได้คบคิดกับชายเหล่าอื่น ปลง
พระเถระนั้นเสียจากชีวิตใน 99 อัตภาพ, พระเถระนี้แลเห็นโทษมีประมาณ
เท่านี้ของเราแล้ว คิดว่า 'น่าสังเวช อุบาสิกาได้ทำกรรมหนักแล้ว '
นางใคร่ครวญ (ต่อไป) ว่า " เราเมื่อท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เรามิได้
เคยทำอุปการะแก่ภิกษุผู้เป็นบุตรเลยหรือหนอ ?" ได้ระลึกถึงอัตภาพที่
ครบ 100 อันยิ่งกว่า 99 อัตภาพนั้น ก็ทราบว่า "ในอัตภาพที่ครบ
100 เราเป็นบาทบริจาริกาแห่งพระเถระนั้น ได้ให้ชีวิตทานในสถาน
เป็นที่ปลงจากชีวิตแห่งหนึ่ง. น่าดีใจ เรากระทำอุปการะมากแก่ภิกษุผู้
บุตรของเรา" นั่งอยู่ในเรือนนั่นเองกล่าวว่า " ขอท่านจงใคร่ครวญดู
ให้วิเศษยิ่งขึ้น."

พระเถระนิพพาน


พระเถระนั้น ได้สดับเสียง ( ของอุบาสิกานั้น) ด้วยโสตธาตุ
อันเป็นทิพย์แล้ว ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ 100 ให้วิเศษขึ้น แล้วเห็น
ความที่อุบาสิกานั้นได้ให้ชีวิตแก่ตนในอัตภาพนั้น จึงคิดว่า " น่าดีใจ
อุบาสิกานี้ได้เคยทำอุปการะแก่เรา " ดังนี้แล้ว มีใจเบิกบานกล่าวปัญหา
ในมรรค 4 ผล 4 แก่อุบาสิกาในที่นั้นนั่นเอง ได้ปรินิพพานแล้วด้วย
นิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส.
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.
1. อญฺเญหิ สทฺธึ เอกโต หุตฺวา แปลตามพยัญชนะว่า เป็นโดยความเป็นอันเดียวกันกับบุรุษ
ทั้งหลายเหล่าอื่น.

3. เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ [26]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน
(จะสึก ) รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทุทฺทสํ"
เป็นต้น.

พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร


ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐี
ผู้หนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้น1ของตน เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ กระผม
ใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่
กระผมสักอย่างหนึ่ง. "
พระเถระ กล่าวว่า "ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้,
เธอจงถวายสลากภัต2 ถวายปักขิกภัต3 ถวายวัสสาวาสิกภัต4 ถวาย
ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น 3 ส่วน
ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน 1 เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน 1
ถวายทรัพย์ส่วน 1 ไว้ในพระพุทธศาสนา." เขารับว่า "ดีละ ขอรับ"
แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถาม
พระเถระอีกว่า "กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ?
ขอรับ."

1. กุลุปกะ ผู้เข้าไปสู่ตระกูล 2. ภัตที่ยายกถวายตามสลาก. 3. ภัตที่ทายกถวายในวัน
ปักษ์. 4. ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา.