เมนู

ตนเองทีเดียว." อุบาสิกาคิดว่า " ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเรา
หวังการไปของเราอยู่," ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้
ถวายแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า " มหาอุบาสิกา ท่านหรือ ? ชื่อว่า
มาจิกมาตา."
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.
ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ ?
อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม ? พ่อ.
ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุก ๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉัน
จึงถามท่าน.
อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรง ๆ) ว่า " ดิฉันรู้จิต
ของคนอื่น " (กลับ) กล่าวว่า " ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิต
ของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้."

ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา


ภิกษุนั้นคิดว่า "กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึง
อารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้,
อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผม
พร้อมด้วยของกลางฉะนั้น; เราควรหนีไปเสียจากที่นี้" แล้วกล่าวว่า
" อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ."

อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน ? พระผู้เป็นเจ้า.
ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุนั้นกล่าวว่า " ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน"
แล้วได้เดินออก ( จากที่นั้น ) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า " ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้น
ไม่ได้หรือ ?"
ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ใน
ที่นั้นได้.
พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? ภิกษุ.
ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ( เพราะว่า) อุบาสิกานั้น ย่อม
รู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้ว ๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า " ก็ธรรมดา
ปุถุชน ย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่าง
อันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้น ก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก
เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น" ดังนี้แล้วจึงได้มา.
พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ใน
ที่นั้นไม่ได้.
พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้น
ได้ไหม ?