เมนู

วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ
" ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก
อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจ
ช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระ-
โยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ 5 แล้ว
ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร
ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก
(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่
ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทนํ คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีรูปเป็นต้น.
บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือน
ทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะ.นั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า "จิต" เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์
และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น.
บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะ
ตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอย
เคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น.

บทว่า ทุนฺนิวารยํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะ
เป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภา-
คารมณ์.
สองบทว่า อุสุกาโรว เตชนํ ความว่า นายช่างศร นำเอาท่อน
ไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้ว
ทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้
หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว
จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความ
นับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้
หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่
ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกาย
และเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด
ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลาย
กองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิช1ชา 3 อภิญญา2 6
โลกุตรธรรม3 9 ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณย-
บุคคลผู้เลิศ.

1. วิชชา 3 คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ 1 จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ
และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย 1 อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป 1.
2. อภิญญา 6 คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ 1 ทิพโสต หูทิพย์ 1 เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด
ใจผู้อื่นได้ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ 1 ทิพยจักขุ ตาทิพย์ 1 อาสวักขยญาณ รู้จัก
ทำอาสวะให้สิ้นไป 1. 3. โลกุตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1.

บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา. สองบทว่า ถเล ขิตฺโต
ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดัก
มีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อ
ไปนี้ ):-
น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า "ภิกษุชาวเมืองปาฐา มี
จีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา1."
อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้ ) ในคำนี้ว่า "มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่
อยู่.2" แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต
นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า " จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าว
คือน้ำ," บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว.
บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดี
แล้วในอาลัยคือกามคุณ 5 อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือ
กามคุณ 5 นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอัน
เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อม
ดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่าง
ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำ
ย่อมดิ้นในฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อม
ทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อม
ดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย

1. วิ. มหาวรรค. ภาค 2. 5/135-6. 2. สัง. ขันธ. 17/ 12.

คือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล.
ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระ ได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล.
ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น
ดังนี้แล.
เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ.

2. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [25]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน" เป็นต้น.

อุบาสิกาจัดที่อยู่ถวายภิกษุ 60 ปี


ได้ยินว่า ได้มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ใน
แว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ 60 รูป
ทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ในสำนักของ
พระศาสดาแล้ว ไปสู่บ้านนั้น เข้าไปเพื่อบิณฑบาต. ลำดับนั้นเจ้าของ
บ้านนั้นชื่อมาติกะใด มารดาของเจ้าของบ้านนั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว
นิมนต์ให้นั่งในเรือน จึงอังคาสด้วยข้าวยาคูและภัตอันมีรสเลิศต่าง ๆ
ถามว่า "พวกท่านประสงค์จะไป ณ ที่ไหน ? เจ้าข้า." ภิกษุเหล่านั้น
บอกว่า " พวกฉันมีความประสงค์จะไปสู่ที่ตามความผาสุก มหาอุบาสิกา."
นางทราบว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ชะรอยจะแสวงหาสถานที่สำหรับ
จำพรรษา จึงหมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกล่าวว่า " ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย
จักอยู่ในที่นี้ตลอด 3 เดือนนี้ไซร้, ดิฉันจักรับสรณะ 3 ศีล 5
(และ) ทำอุโบสถกรรม." ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันว่า " เราทั้งหลาย
เมื่ออาศัยอุบาสิกานี้ ไม่มีความลำบากด้วยภิกษา จักสามารถทำการ