เมนู

2. เรื่องมัฏฐกุณฑลี [2]


ข้อความเบื้องต้น


ฝ่ายพระคาถาที่สองว่า "มโนปุพฺพงฺคมา" เป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงปรารภมัฏฐกุณฑลีมาณพ ภาษิตแล้ว ในกรุงสาวัตถี
นั่นแล.

พราหมณ์ทำตุ้มหูให้บุตร


ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ อทินน-
ปุพพกะ.
เขาไม่เคยให้สิ่งของอะไร ๆ แก่ใคร ๆ. เพราะฉะนั้นประชุมชน
จึงได้ตั้งชื่อว่า "อทินนปุพพกะ1." เขาได้มีบุตรคนเดียวเป็นที่รักใคร่
พอใจ. ภายหลัง เขาอยากจะทำเครื่องประดับให้บุตร คิดว่า "ถ้าเราจัก
จ้างช่างทอง ก็จะต้องให้ค่าบำเหน็จ " ดังนี้แล้วจึงแผ่ทองคำ ทำให้
เป็นตุ้มหูเกลี้ยง ๆ เสร็จแล้ว ได้ให้ (แก่บุตรของตน). เพราะฉะนั้น
บุตรของเขาจึงได้ปรากฏโดยชื่อว่า "มัฏฐกุณฑลี."

รักษาบุตรเองเพราะกลัวเสียขวัญข้าว


ในเวลาเมื่อบุตรนั้นอายุได้ 16 ปี เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. มารดา
แลดูบุตรแล้ว จึงพูดกะพราหมณ์ (ผู้สามี) ว่า " พราหมณ์ โรคเกิด
ขึ้นแล้วแก่บุตรของท่าน, ขอท่านจงหาหมอมารักษาเขาเสียเถิด."
พราหมณ์ตอบว่า "นางผู้เจริญ ถ้าเราจะหาหมอมา, เราจะต้อง

1. ผู้ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร.