เมนู

3. จิตตวรรควรรณนา



1. เรื่องพระเมฆิยเถระ [24]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาชื่อจาลิกา ทรงปรารภท่าน
พระเมฆิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ" เป็นต้น.

พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ


เมฆิยสูตร1ทั้งหมด บัณฑิตพึง ( แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้
เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง. ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระ
ผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่าน
ถูกวิตก 3 อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า "เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอน
อยู่ว่า ' เมฆิยะ เราเป็นผู้ ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูป
แม้อื่นจะปรากฏ ' ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่ ) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า)
ทำกรรมอันหนักยิ่ง. ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป)
เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร" ดังนี้แล้ว
จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา 2 พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ


1. ขุ. อุ. 25/ 123.

วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต
ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ
" ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก
อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจ
ช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระ-
โยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ 5 แล้ว
ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร
ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก
(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่
ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทนํ คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย
มีรูปเป็นต้น.
บทว่า จปลํ ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือน
ทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะ.นั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า "จิต" เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์
และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น.
บทว่า ทุรกฺขํ ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะ
ตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอย
เคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น.