เมนู

คาถาธรรมบท


จิตตวรรค1ที่ 3


ว่าด้วยการฝึกจิต


[13] 1. ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก
อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศร
ดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาวจร
ยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ 5 แล้วซัดไปในวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอัน
พรานเบ็ดยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไป
บนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.
2. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ
ว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.
3. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้
4. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยว
ไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น
จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.


1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.

5. ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้
แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย
ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่
ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและ
บาปได้ ตื่นอยู่.
6. (บัณฑิต) รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ
กั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ
ปัญญา พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้
ไม่ติดอยู่.
7. ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้
มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้
ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.
8. จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น
ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร
หรือคนจองเวรทำ (แก่กัน ) นั้น (เสียอีก).
9. มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำ
เหตุนั้น (ให้ได้) แต่จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำ
เขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.

จบจิตตวรรคที่ 3

3. จิตตวรรควรรณนา



1. เรื่องพระเมฆิยเถระ [24]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาชื่อจาลิกา ทรงปรารภท่าน
พระเมฆิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ" เป็นต้น.

พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ


เมฆิยสูตร1ทั้งหมด บัณฑิตพึง ( แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้
เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง. ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระ
ผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่าน
ถูกวิตก 3 อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า "เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอน
อยู่ว่า ' เมฆิยะ เราเป็นผู้ ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูป
แม้อื่นจะปรากฏ ' ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่ ) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า)
ทำกรรมอันหนักยิ่ง. ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป)
เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร" ดังนี้แล้ว
จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา 2 พระคาถาเหล่านี้ว่า
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ


1. ขุ. อุ. 25/ 123.