เมนู

ภิกษุควรปรารถนาน้อยและสันโดษ


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
"ท้าวสักกะ ในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์, พระยานกแขกเต้าได้เป็น
เราเอง" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ความ
เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยนี่ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของเรา ข้อที่
ติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม บุตรของเรา ได้อาจารย์เช่นเราแล้วเป็นผู้มีความ
ปรารถนาน้อย ไม่น่าอัศจรรย์; ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้มีความมักน้อย
เหมือนติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม; เพราะว่า ภิกษุเห็นปานนั้น เป็นผู้ไม่
ควรเสื่อมจากมรรคและผล, ย่อมอยู่ในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้
ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
9. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปนาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
"ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก
มรรคและผล ) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระ-
นิพพานทีเดียว."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อภพฺโพ ปริหานาย
ความว่า ภิกษุผู้เห็นปานนั้น ๆ ไม่ควรเพื่ออันเสื่อมจากธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนา หรือจากมรรคและผล คือจะเสื่อมเสียจากคุณธรรมที่ตน
บรรลุแล้ว แม้หามิได้ จะไม่บรรลุคุณธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุก็หามิได้.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ความว่า ตั้งอยู่ใน
ที่ใกล้ทีเดียวแห่งกิเลสปรินิพพาน (การดับกิเลส ) บ้าง อนุปาทา-
ปรินิพพาน (การดับด้วยหาเชื้อมิได้) บ้าง.
ในกาลจบพระคาถา พระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม บรรลุ
พระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก
ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนามีผลมากแก่มหาชน
ดังนี้แล.
เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม จบ.
อัปปมาทวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 2 จบ.

คาถาธรรมบท


จิตตวรรค1ที่ 3


ว่าด้วยการฝึกจิต


[13] 1. ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก
อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศร
ดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาวจร
ยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ 5 แล้วซัดไปในวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอัน
พรานเบ็ดยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไป
บนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.
2. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ
ว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.
3. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้
4. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยว
ไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น
จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.


1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.