เมนู

ภิกษุควรปรารถนาน้อยและสันโดษ


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
"ท้าวสักกะ ในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์, พระยานกแขกเต้าได้เป็น
เราเอง" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ความ
เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยนี่ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของเรา ข้อที่
ติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม บุตรของเรา ได้อาจารย์เช่นเราแล้วเป็นผู้มีความ
ปรารถนาน้อย ไม่น่าอัศจรรย์; ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้มีความมักน้อย
เหมือนติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม; เพราะว่า ภิกษุเห็นปานนั้น เป็นผู้ไม่
ควรเสื่อมจากมรรคและผล, ย่อมอยู่ในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้
ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
9. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปนาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
"ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก
มรรคและผล ) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระ-
นิพพานทีเดียว."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อภพฺโพ ปริหานาย
ความว่า ภิกษุผู้เห็นปานนั้น ๆ ไม่ควรเพื่ออันเสื่อมจากธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนา หรือจากมรรคและผล คือจะเสื่อมเสียจากคุณธรรมที่ตน
บรรลุแล้ว แม้หามิได้ จะไม่บรรลุคุณธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุก็หามิได้.