เมนู

ท้าวสักกะทรงทดลองพระยานกแขกเต้า


ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรง (บันดาล)
ให้ต้นไม้นั้นเหี่ยวแห้งด้วยอานุภาพของตน เพื่อจะทดลองพระยานก
แขกเต้านั้น ต้นไม้หักแล้ว เหลืออยู่สักว่าตอเท่านั้น เป็นช่องน้อย
และช่องใหญ่ (ปรุหมด). เมื่อลมโกรกมา ( กระทบ ) ได้เปล่ง
เสียงดุจถูกบุคคลเคาะ ตั้งอยู่แล้ว ขุยทั้งหลายปลิวออกจากช่องของ
ต้นไม้นั้น. พระยานกแขกเต้าจิกกินขุยเหล่านั้น แล้วดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา
ไม่ไปในที่อื่น ไม่พรั่นพรึงลมและแดด จับอยู่ที่ปลายตอมะเดื่อ. ท้าว
สักกะทรงทราบความที่พระยานกแขกเต้านั้น มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง
ทรงดำริว่า " เราจักให้พระยานกแขกเต้านั้น กล่าวคุณแห่งมิตรธรรม
แล้วให้พรแก่นกนั้น ทำ ( บันดาล) ต้นมะเดื่อให้มีผลไม่วายแล้ว"
ดังนี้แล้ว (นิรมิต ) พระองค์เป็นพระยาหงส์ตัวหนึ่ง นำนางอสุรกัญญา
นามว่าสุชาดาไว้ข้างหน้า เสด็จไปป่ามะเดื่อนั้น จับที่กิ่งแห่งต้นไม้ต้นหนึ่ง
ในที่ไม่ไกล เมื่อจะตรัสสนทนากับพระยานกแขกเต้านั้น ตรัสคาถานี้ว่า
" พฤกษามีใบสดเขียวมีอยู่, หมู่ไม้มีผลหลาก
หลาย ก็มีมาก, เหตุไรหนอ ? ใจของนกแขกเต้า
จึงยินดีแล้วในไม้แห้งที่ผุ."

สุวชาดกทั้งหมด บัณฑิตพึงให้พิสดาร ตามนัยที่มาแล้วในนวกนิบาต1
นั่นและ; แต่ความเกิดขึ้นแห่งเรื่องเท่านั้น ในนวกนิบาตและในที่นี้ต่างกัน
ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้น.

1. ขุ. ชา. นวก. 27/257. อรรถกถา. 5/355. จุลลสุวกราชชาดก.

ภิกษุควรปรารถนาน้อยและสันโดษ


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
"ท้าวสักกะ ในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์, พระยานกแขกเต้าได้เป็น
เราเอง" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ความ
เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยนี่ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของเรา ข้อที่
ติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม บุตรของเรา ได้อาจารย์เช่นเราแล้วเป็นผู้มีความ
ปรารถนาน้อย ไม่น่าอัศจรรย์; ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้มีความมักน้อย
เหมือนติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม; เพราะว่า ภิกษุเห็นปานนั้น เป็นผู้ไม่
ควรเสื่อมจากมรรคและผล, ย่อมอยู่ในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้
ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
9. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปนาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.
"ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก
มรรคและผล ) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระ-
นิพพานทีเดียว."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อภพฺโพ ปริหานาย
ความว่า ภิกษุผู้เห็นปานนั้น ๆ ไม่ควรเพื่ออันเสื่อมจากธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนา หรือจากมรรคและผล คือจะเสื่อมเสียจากคุณธรรมที่ตน
บรรลุแล้ว แม้หามิได้ จะไม่บรรลุคุณธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุก็หามิได้.