เมนู

ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีความคลุกคลีด้วยญาติ, ข้าพระองค์
อาศัยพวกมนุษย์ที่เป็นญาติเหล่านั้น ย่อมได้อาหารที่พอจะกลืนกินได้,
ข้าพระองค์คิดว่า ' เมื่อเราได้อาหารที่เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ซึ่ง
พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แล้ว, ประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาอาหาร
อีกเล่า ?' ดังนี้แล้ว จึงไม่มา, ก็ชื่อว่า ความคลุกคลีด้วยหมู่ญาติไม่มี
แก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า" แม้ตามปกติ (พระองค์ ) ก็ทรงทราบ
อัธยาศัยของท่านอยู่ จึงประทานสาธุการว่า " ดีละ ๆ ภิกษุ" ดังนี้แล้ว
ตรัสว่า " ภิกษุ ก็ข้อที่เธอได้อาจารย์ผู้เช่นเราแล้ว ได้เป็นผู้มักน้อย
ไม่อัศจรรย์นัก, เพราะว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มักน้อยนี้เป็นแบบแผน
ของเรา เป็นประเพณีของเรา" ดังนี้แล้ว อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา
แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาว่า

เรื่องนกเขาแต้ว


ในอดีตกาล นกแขกเค้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง
ใกล้ผงแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น พระยานก
แขกเต้าตัว หนึ่ง เมื่อผลแห่งต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่สิ้นแล้ว จิกกิน
หน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นสัตว์ที่มี
ความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษ ไม่ไปในที่อื่น ด้วยคุณคือความ
ปรารถนาน้อยและสันโดษของพระยานกแขกเต้านั้น ภพของท้าวสักกะ
ไหวแล้ว.

ท้าวสักกะทรงทดลองพระยานกแขกเต้า


ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรง (บันดาล)
ให้ต้นไม้นั้นเหี่ยวแห้งด้วยอานุภาพของตน เพื่อจะทดลองพระยานก
แขกเต้านั้น ต้นไม้หักแล้ว เหลืออยู่สักว่าตอเท่านั้น เป็นช่องน้อย
และช่องใหญ่ (ปรุหมด). เมื่อลมโกรกมา ( กระทบ ) ได้เปล่ง
เสียงดุจถูกบุคคลเคาะ ตั้งอยู่แล้ว ขุยทั้งหลายปลิวออกจากช่องของ
ต้นไม้นั้น. พระยานกแขกเต้าจิกกินขุยเหล่านั้น แล้วดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา
ไม่ไปในที่อื่น ไม่พรั่นพรึงลมและแดด จับอยู่ที่ปลายตอมะเดื่อ. ท้าว
สักกะทรงทราบความที่พระยานกแขกเต้านั้น มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง
ทรงดำริว่า " เราจักให้พระยานกแขกเต้านั้น กล่าวคุณแห่งมิตรธรรม
แล้วให้พรแก่นกนั้น ทำ ( บันดาล) ต้นมะเดื่อให้มีผลไม่วายแล้ว"
ดังนี้แล้ว (นิรมิต ) พระองค์เป็นพระยาหงส์ตัวหนึ่ง นำนางอสุรกัญญา
นามว่าสุชาดาไว้ข้างหน้า เสด็จไปป่ามะเดื่อนั้น จับที่กิ่งแห่งต้นไม้ต้นหนึ่ง
ในที่ไม่ไกล เมื่อจะตรัสสนทนากับพระยานกแขกเต้านั้น ตรัสคาถานี้ว่า
" พฤกษามีใบสดเขียวมีอยู่, หมู่ไม้มีผลหลาก
หลาย ก็มีมาก, เหตุไรหนอ ? ใจของนกแขกเต้า
จึงยินดีแล้วในไม้แห้งที่ผุ."

สุวชาดกทั้งหมด บัณฑิตพึงให้พิสดาร ตามนัยที่มาแล้วในนวกนิบาต1
นั่นและ; แต่ความเกิดขึ้นแห่งเรื่องเท่านั้น ในนวกนิบาตและในที่นี้ต่างกัน
ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้น.

1. ขุ. ชา. นวก. 27/257. อรรถกถา. 5/355. จุลลสุวกราชชาดก.