เมนู

9. เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม [23]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ
ผู้มีปกติอยู่ในนิคม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาทรโต" เป็น
ต้น.

พระเถระเที่ยวรับบิณฑบาตแต่ในบ้านญาติ


ความพิสดารว่า กุลบุตรคนหนึ่ง เกิดเติบโตในบ้านที่ตั้งอยู่ในนิคม
แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี บรรพชาแล้วได้อุปสมบทในศาสนา
ของพระศาสดาแล้ว ปรากฏว่า " ชื่อว่า พระนิคมติสสเถระเป็นผู้มักน้อย
สันโดษ สงัด ปรารภความเพียร." ท่านเที่ยวบิณฑบาตเฉพาะในบ้าน
ของญาติเป็นนิตย์. เมื่อคนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ทำ
มหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,*
ก็ไม่มากรุงสาวัตถี.
พวกภิกษุจึงสนทนากันว่า " พระนิคมติสสะนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพ
แล้ว ก็คลุกคลีด้วยญาติอยู่ เมื่อชนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น
ทำมหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,
เธอไม่มาเลย ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระเถระได้รับสาธุการจากพระศาสดา


พระศาสดา รับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

1. ทานอันไม่มีทานอื่นเสมอ.

ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีความคลุกคลีด้วยญาติ, ข้าพระองค์
อาศัยพวกมนุษย์ที่เป็นญาติเหล่านั้น ย่อมได้อาหารที่พอจะกลืนกินได้,
ข้าพระองค์คิดว่า ' เมื่อเราได้อาหารที่เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ซึ่ง
พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แล้ว, ประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาอาหาร
อีกเล่า ?' ดังนี้แล้ว จึงไม่มา, ก็ชื่อว่า ความคลุกคลีด้วยหมู่ญาติไม่มี
แก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า" แม้ตามปกติ (พระองค์ ) ก็ทรงทราบ
อัธยาศัยของท่านอยู่ จึงประทานสาธุการว่า " ดีละ ๆ ภิกษุ" ดังนี้แล้ว
ตรัสว่า " ภิกษุ ก็ข้อที่เธอได้อาจารย์ผู้เช่นเราแล้ว ได้เป็นผู้มักน้อย
ไม่อัศจรรย์นัก, เพราะว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มักน้อยนี้เป็นแบบแผน
ของเรา เป็นประเพณีของเรา" ดังนี้แล้ว อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา
แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาว่า

เรื่องนกเขาแต้ว


ในอดีตกาล นกแขกเค้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง
ใกล้ผงแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น พระยานก
แขกเต้าตัว หนึ่ง เมื่อผลแห่งต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่สิ้นแล้ว จิกกิน
หน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นสัตว์ที่มี
ความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษ ไม่ไปในที่อื่น ด้วยคุณคือความ
ปรารถนาน้อยและสันโดษของพระยานกแขกเต้านั้น ภพของท้าวสักกะ
ไหวแล้ว.