เมนู

ฉะนั้น, ควรเผาสังโยชน์เหล่านั้นด้วยไฟคือญาณเสียแล้ว ทำให้เป็นของ
ไม่ควรเกิดอีก" ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี ปรากฏประหนึ่งว่า
ประทับนั่ง ณ ที่จำเพาะหน้าของภิกษุนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า
8. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํอณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.
" ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์ ทั้ง
ละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อย
ไปฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรโต ความว่า ยินดีคืออภิรมย์
แล้วในความไม่ประมาท ได้แก่ ยังกาลให้ล่วงไปด้วยความไม่ประมาท.
บาทพระคาถาว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา ความว่า ผู้เห็นภัยใน
ความประมาท มีการเข้าถึงนรกเป็นต้น, อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าผู้เห็น
ความประมาทโดยความเป็นภัย เพราะความประมาทนั้นเป็นรากเหง้าแห่ง
ความอุบัติเหล่านั้น.
บทว่า สญฺโญชนํ ความว่า สังโยชน์ 10 อย่าง1 เป็นเครื่อง
ประกอบ เครื่องผูก ( หมู่สัตว์) ไว้กับทุกข์ในวัฏฏะ สามารถยังสัตว์
ให้จมลงในวัฏฏะได้.

1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน 1 วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ 1 สีลัพพต-
ปรามาส ความลูบคลำศีลและพรต 1 กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม 1 ปฏิฆะ
ความกระทบกระทั่งแห่งจิต 1 รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม 1 อรูปราคะ ความติดใจในอรูป-
ธรรม 1 มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ 1 อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน 1 อวิชชา ความหลงเป็น
เหตุไม่รู้จริง 1.