เมนู

อย่างนี้; ก็แล มฆมาณพนั่น ไม่ประมาทอย่างนี้ จึงถึงความเป็นใหญ่
เห็นปานนี้ ทรงเสวยราชย์ในเทวโลกทั้งสอง, ชื่อว่าความไม่ประมาทนั่น
บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว, เพราะว่า การ
บรรลุคุณวิเศษซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งหมดย่อมมีได้ เพราะอาศัย
ความไม่ประมาท " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
7. อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ปมาโท ครหิโต สทา.
"ท้าวมฆวะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดา
ทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท; บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท, ความประมาท
อันท่านติเตียนทุกเมื่อ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาเทน คือ เพราะความไม่
ประมาทที่ทำไว้ ตั้งต้นแต่แผ้วถางภูมิประเทศในอจลคาม.
บทว่า มฆวา เป็นต้น ความว่า มฆมาณพ ซึ่งปรากฏว่า
" มฆวะ" ในบัดนี้ ชื่อว่า ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย
เพราะความเป็นราชาแห่งเทวโลกทั้งสอง.
บทว่า ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ย่อมชมเชย สรรเสริญความไม่ประมาทอย่างเดียว.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"
วิสัชนาว่า " เพราะความไม่ประมาท เป็นเหตุให้ได้คุณวิเศษที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระทั้งหมด."
บาทพระคาถาว่า ปมาโท ครหิโต สทา ความว่า ส่วนความ
ประมาท อันพระอริยะเหล่านั้นติเตียน คือนินทาแล้ว เป็นนิตย์.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"
วิสัชนาว่า " เพราะความประมาทเป็นต้นเค้าของความวิบัติทุกอย่าง."
จริงอยู่ ความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ก็ดี การเข้าถึงอบายก็ดี ล้วนมีความ
ประมาทเป็นมูลทั้งนั้น ดังนี้.
ในเวลาจบคาถา เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ ทรงดำรงอยู่ในโสดา-
ปัตติผลแล้ว. แม้บริษัทผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคล
มีพระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องท้าวสักกะ จบ.

8. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [22]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ"
เป็นต้น.

ภิกษุนั่งพิจารณาไฟไหม้ป่าเป็นอารมณ์


ดังได้สดับมา ภิกษุรูปนั้นเรียนกัมมัฏฐาน ตราบเท่าถึงพระอรหัต
ในสำนักพระศาสดาแล้ว เข้าป่าเพียรพยายามอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัต
ได้. ท่านนึกว่า " เราจักไปทูลพระศาสดาให้ตรัสบอกกัมมัฏฐานให้วิเศษ
(ขึ้นไป) " ดังนี้แล้ว ออกจากป่านั้น กำลังเดินมายังสำนักพระศาสดา
เห็นไฟป่าตั้งขึ้น ( ลุกลาม) มากมาย ในระหว่างหนทาง รีบขึ้นยอดเขา
โล้นลูกหนึ่ง นั่งดูไฟซึ่งกำลังไหม้ป่า ยืดเอาเป็นอารมณ์ว่า " ไฟนี้
เผาเชื้อทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันใด; แม้ไฟคืออริยมรรคญาณ ก็จัก
พึงเผาสังโยชน์ทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันนั้น."

ปฏิปทาตัดสังโยชน์


พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นแล ทรงทราบวาระจิต
ของเธอแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นแล ภิกษุ สังโยชน์ทั้งหลายละเอียด
และหยาบ ซึ่งเกิดอยู่ในภายในของสัตว์เหล่านี้ ดุจเชื้อมากบ้างน้อยบ้าง