เมนู

อสุรบุรี บัดนี้ กลับรถแล้ว, เธอจักได้ผู้ช่วยเหลือเป็นแน่" จึงกลับ
เข้าไปสู่อสูรบุรีตามทางที่มาแล้วนั่นแล ไม่ยกศีรษะขึ้นอีก.
ฝ่ายท้าวสักกะ ทรงนำนางสาวอสูรชื่อสุชาดาไปเทพนครแล้ว ทรง
สถาปนาไว้ในตำแหน่งหัวหน้านางอัปสร 2 โกฏิกึ่ง. นางทูลขอพรกะ
ท้าวสักกะว่า "ขอเดชะพระมหาราชเจ้า มารดาบิดาหรือพี่ชายพี่หญิงของ
หม่อมฉัน ในเทวโลกนี้ ไม่มี; พระองค์จะเสด็จไปในที่ใด ๆ พึง
(ทรงพระกรุณา) พาหม่อมฉันไปในที่นั้น ๆ (ด้วย) ท้าวเธอได้ประ-
ทานปฏิญญาแก่นางว่า "ได้."

พวกอสูรกลัวท้าวสักกะ


ก็จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อดอกจิตตปาตลิบาน พวกอสูรประสงค์จะรบ
กะท้าวสักกะ ขึ้นมาเพื่อหมายจะต่อยุทธ ด้วยสำคัญว่า " เป็นเวลาที่
ดอกปาริฉัตตกทิพย์ของพวกเราบาน" ท้าวสักกะได้ประทานอารักขาแก่
พวกนาคในภายใต้สมุทร. ถัดนั้น พวกครุฑ, ถัดนั้น พวกกุมภัณฑ์,
ถัดนั้น พวกยักษ์, ถัดนั้น ท้าวจตุมหาราช, ส่วนชั้นบนกว่าทุก ๆ ชั้น
ประดิษฐานรูปจำลองพระอินทร์ ซึ่งมีวชิราวุธในพระหัตถ์ไว้ที่ทวารแห่ง
เทพนคร. พวกอสูรแม้ชำนะพวกนาคเป็นต้นมาแล้ว เห็นรูปจำลอง
พระอินทร์มาแต่ไกล ก็ย่อมหนีไป ด้วยเข้าใจว่า "ท้าวสักกะเสด็จออก
มาแล้ว."

อานิสงส์ความไม่ประมาท


พระศาสดาตรัสว่า "มหาลิ มฆมาณพปฏิบัติอัปปมาทปฏิปทา

อย่างนี้; ก็แล มฆมาณพนั่น ไม่ประมาทอย่างนี้ จึงถึงความเป็นใหญ่
เห็นปานนี้ ทรงเสวยราชย์ในเทวโลกทั้งสอง, ชื่อว่าความไม่ประมาทนั่น
บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว, เพราะว่า การ
บรรลุคุณวิเศษซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งหมดย่อมมีได้ เพราะอาศัย
ความไม่ประมาท " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
7. อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฏฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ปมาโท ครหิโต สทา.
"ท้าวมฆวะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดา
ทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท; บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท, ความประมาท
อันท่านติเตียนทุกเมื่อ."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาเทน คือ เพราะความไม่
ประมาทที่ทำไว้ ตั้งต้นแต่แผ้วถางภูมิประเทศในอจลคาม.
บทว่า มฆวา เป็นต้น ความว่า มฆมาณพ ซึ่งปรากฏว่า
" มฆวะ" ในบัดนี้ ชื่อว่า ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย
เพราะความเป็นราชาแห่งเทวโลกทั้งสอง.
บทว่า ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ย่อมชมเชย สรรเสริญความไม่ประมาทอย่างเดียว.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"
วิสัชนาว่า " เพราะความไม่ประมาท เป็นเหตุให้ได้คุณวิเศษที่เป็น