เมนู

แก่นาง. ได้ยินว่า ชื่อว่าสถานที่อื่น อันน่าปลื้มใจกว่านั้น ย่อมไม่มี.
ในวันอัฏฐมี (ดิถีที่ 8) แห่งเดือน มีการฟังธรรม ในที่นั้นนั่นเอง.
จนกระทั่งทุกวันนี้ ชนทั้งหลาย เห็นสถานที่อันน่าปลื้มใจแห่งใดแห่งหนึ่ง
เข้า ก็ยังกล่าวกันอยู่ว่า "เหมือนเทวสภาชื่อสุธรรมา."
แม้นางสุนันทา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น
เหมือนกัน. สระโบกขรณีชื่อสุนันทา มีประมาณ 500 โยชน์ เกิดแล้ว
แก่นาง.
แม้นางสุจิตรา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น
เหมือนกัน. สวนชื่อจิตรลดา มีประมาณ 500 โยชน์ ที่พวกเทพดา
พาเหล่าเทพบุตรผู้มีบุรพนิมิตเกิดแล้วให้หลงเที่ยวไปอยู่ เกิดแล้วแม้แก่
นาง.

ท้าวสักกะโอวาทนางสุชาดาผู้เป็นนางนกยาง


ส่วนนางสุชาดา ถึงแก่กรรมแล้ว เกิดเป็นนางนกยางในซอกเขา
แห่งหนึ่ง. ท้าวสักกะทรงตรวจดูบริจาริกาของพระองค์ ทรงทราบว่า
" นางสุธรรมาเกิดแล้วในที่นี้เหมือนกัน. นางสุนันทาและนางสุจิตรา
ก็อย่างนั้น," พลางทรงดำริ (ต่อไป) ว่า "นางสุชาดาเกิดที่ไหนหนอ ?"
เห็นนางเกิดในซอกเขานั้นแล้ว ทรงดำริว่า " นางสุชาดานี้เขลา ไม่ทำ
บุญอะไร ๆ บัดนี้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน, แม้บัดนี้ ควรที่เราจะให้นาง
ทำบุญแล้วนำมาไว้เสียที่นี้" ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลงอัตภาพ เสด็จไป
ยังสำนักของนางด้วยเพศที่เขาไม่รู้จัก ตรัสถามว่า "เจ้าเที่ยวทำอะไรอยู่
ที่นี้ ?"

นางนกยาง. นาย ก็ท่านคือใคร ?
ท้าวสักกะ. เรา คือมฆะ สามีของเจ้า.
นางนกยาง. ท่านเกิดที่ไหน ? นาย.
ท้าวสักกะ เราเกิดในดาวดึงสเทวโลก. ก็เจ้ารู้สถานที่เกิดแห่ง
หญิงสหายของเจ้าแล้วหรือ ?
นางนกยาง. ยังไม่ทราบ นาย.
ท้าวสักกะ. หญิงแม้เหล่านั้น ก็เกิดในสำนักของเราเหมือนกัน
เจ้าจักเยี่ยมหญิงสหายของเจ้าไหมเล่า ?
นางนกยาง. หม่อมฉันจักไปในที่นั้นได้อย่างไร ?
ท้าวสักกะ ตรัสว่า " เราจักนำเจ้าไปในที่นั้น" ดังนี้แล้ว นำ
ไปสู่เทวโลก ปล่อยไว้ริมฝั่งสระโบกขรณีที่ชื่อนันทา ตรัสบอกแก่
พระมเหสีทั้งสามนอกนี้ว่า " พวกหล่อนจะดูนางสุชาดาสหายของพวก
หล่อนบ้างไหม ?"
มเหสี. นางอยู่ที่ไหนเล่า ? พระเจ้าข้า.
ท้าวสักกะ. อยู่ริมฝั่งโบกขรณีชื่อนันทา.
พระมเหสีทั้งสามนั้น เสด็จไปในที่นั้น ทำการเยาะเย้ยว่า "โอ
รูปของแม่เจ้า, โอ ผลของการแต่งตัว; คราวนี้ ท่านทั้งหลายจงดู
จะงอยปาก, ดูแข้ง ดูเท้า ของแม่เจ้า, อัตภาพของแม่เจ้าช่างงามแท้ "
ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.
ท้าวสักกะ เสด็จไปสำนักของนางอีก ตรัส (ถาม) ว่า " เจ้า
พบหญิงสหายแล้วหรือ ?" เมื่อนางทูลว่า "พระมเหสีทั้งสามนั้น หม่อมฉัน
ได้พบแล้ว (เขาพากัน) เยาะเย้ยหม่อมฉันแล้วก็ไป, ขอพระองค์โปรด

นำหม่อมฉันไปที่ซอกเขานั้นตามเดิมเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทรงนำนางนั้น
ไปที่ซอกเขาตามเดิม ปล่อยไว้ในนั้นแล้ว ตรัสถามว่า " เจ้าเห็นสมบัติ
ของหญิงทั้งสามนั้นแล้วหรือ ?"
นางนกยาง. หม่อมฉันเห็นแล้ว พระเจ้าข้า.
ท้าวสักกะ. แม้เจ้าก็ควรทำอุบายอันเป็นเหตุให้เกิดในที่นั้น.
นางนกยาง. จักทำอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า.
ท้าวสักกะ. เจ้าจักรักษาโอวาทที่เราให้ไว้ได้ไหม ?
นางนกยาง. รักษาได้ พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะก็ประทานศีล 5 แก่นาง แล้วตรัสว่า
" เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาเถิด" ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป.
จำเดิมแต่นั้นมา นาง ( เที่ยว) หากินแต่ปลาที่ตายเองเท่านั้น.
โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน ท้าวสักกะ เสด็จไปเพื่อทรงประสงค์จะลองใจ
นาง จึงทรงจำแลงเป็นปลาตายนอนหงายอยู่หลังหาดทราย. นางเห็นปลา
นั้นแล้ว ได้คาบเอา ด้วยสำคัญว่า " ปลาตาย" ในเวลาจะกลืน
ปลากระดิกหางแล้ว. นางรู้ว่า "ปลาเป็น" จึงปล่อยเสียในน้ำ. ท้าวสักกะ
ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้ว จึงทรงทำเป็นนอนหงายข้างหน้า
นางอีก นางก็คาบอีก ด้วยสำคัญว่า "ปลาตาย" ในเวลาจะกลืน
เห็นปลายังกระดิกหางอยู่ จึงปล่อยเสีย ด้วยรู้ว่า "ปลาเป็น." ท้าสักกะ
ทรงทดลองอย่างนี้ (ครบ) 3 ครั้งแล้ว ตรัสว่า " เจ้ารักษาศีลได้ดี"
ให้นางทราบพระองค์แล้ว ตรัสว่า " เรามาเพื่อประสงค์จะลองใจเจ้า,
เจ้ารักษาศีลได้ดี, เมื่อรักษาได้อย่างนั้น ไม่นานเท่าไร ก็จักเกิดในสำนัก
ของเราเป็นแน่ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

นางสุชาดาท่องเที่ยวอยู่ในภพต่าง ๆ


จำเดิมแต่นั้นมา นางได้ปลาที่ตายเองไปบ้าง ไม่ได้บ้าง, เมื่อ
ไม่ได้ โดยกาลล่วงไป 2-3 วันเท่านั้น ก็ซูบผอม ทำกาละแล้วเกิดเป็น
ธิดาของช่างหม้อในเมืองพาราณสี ด้วยผลแห่งศีลนั้น.
ต่อมา ในเวลาที่นางมีอายุราว 15-16 ปี ท้าวสักกะทรงคำนึง
ถึงว่า "นางเกิดที่ไหนหนอ ?" (ได้) เห็นแล้ว ทรงดำริว่า "บัดนี้
ควรที่เราจะไปที่นั้น" ดังนี้แล้ว จึงทรงเอาแก้ว 7 ประการ ซึ่งปรากฏ
โดยพรรณคล้ายฟักทอง บรรทุกยานน้อย ขับเข้าไปในเมืองพาราณสี
เสด็จไปยังถนนป่าวร้องว่า " ท่านทั้งหลาย (มา) เอาฟักทองกันเถิด,"
แต่ตรัสกะผู้เอาถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้นมาว่า "ข้าพเจ้าไม่ให้ด้วย
ราคา," เมื่อเขาทูลถามว่า " ท่านจะให้อย่างไร ?" ตรัสว่า " ข้าพเจ้า
จะให้แก่สตรีผู้รักษาศีล."
พวกพลเมือง. นาย ชื่อว่าศีลเป็นเช่นไร ? สีดำหรือสีเขียว
เป็นต้น.
ท้าวสักกะ. พวกท่านไม่รู้จักศีลว่า ' เป็นเช่นไร ' จักรักษาศีล
นั้นอย่างไรได้เล่า ? แต่เราจักให้แก่สตรีผู้รักษาศีล.
พวกพลเมือง. นาย ธิดาของช่างหม้อนั้น เที่ยวพูดอยู่ว่า 'ข้าพเจ้า
รักษาศีล,' จงให้แก่สตรีนั้นเถิด.
แม้ธิดาของช่างนั้น ก็ทูลพระองค์ว่า "ถ้ากระนั้น ก็ให้แก่
ฉันเถิด นาย."
ท้าวสักกะ. เธอ คือใคร ?
ธิดาช่างหม้อ. ฉันคือสตรีผู้ไม่ละศีล 5.