เมนู

ช่อฟ้าเถิด, เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานของพวกเราก็จักถึงความสำเร็จ."
พวกเขา รับว่า " ดีละ" แล้วรับเอาช่อฟ้า สร้างศาลาให้สำเร็จแล้ว
แบ่งเป็น 3 ส่วน ( คือ ) ในส่วนหนึ่ง สร้างเป็นที่สำหรับอยู่ของพวก
อิสรชน, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนเข็ญใจ, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนไข้.

เรื่องช้างเอราวัณ


ชน 33 คน ให้ปูกระดาน 33 แผ่น แล้วให้สัญญาช้างว่า
" ผู้เป็นแขก มานั่งบนแผ่นกระดานอันผู้ใดปูไว้, เจ้าจงพาแขกนั้นไป
ให้พักอยู่ที่เรือนของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. การ
นวดเท้า การนวดหลัง ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ที่นอน ทุกอย่าง
จักเป็นหน้าที่ของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ."
ช้างรับผู้ที่มาแล้ว ๆ นำไปสู่เรือนของเจ้าของกระดานนั่นเทียว.
ในวันนั้น เจ้าของกระดานนั้น ย่อมทำกิจที่ควรทำแก่ผู้ที่ช้างนำไปนั้น.
นายมฆะ ปลูกต้นทองหลางต้นหนึ่งไว้ ไม่สู้ห่างศาลา แล้วปูแผ่นศิลา
ไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น. พวกที่เข้าไปแล้ว ๆ สู่ศาลา แลดูช่อฟ้า
อ่านหนังสือแล้ว ย่อมพูดกันว่า "ศาลาชื่อสุธรรมา " ชื่อของชน 33
คนไม่ปรากฏ. นางสุนันทา คิดว่า " พวกนี้ เมื่อทำศาลาทำพวกเรา
ไม่ให้มีส่วนบุญด้วย, แต่นางสุธรรมา ก็ทำช่อฟ้าเข้าร่วมส่วนจนได้
เพราะความที่ตนเป็นคนฉลาด. เราก็ควรจะทำอะไร ๆ บ้าง, จักทำอะไร
หนอ ?" ในทันใดนั้น นางก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า "พวกที่มาสู่ศาลา
ควรจะได้น้ำกินและน้ำอาบ, เราจะให้เขาขุดสระโบกขรณี," นางให้เขา
สร้างสระโบกขรณีแล้ว.

นางสุจิตราคิดว่า " นางสุธรรมาได้ให้ช่อฟ้า, นางสุนันทา
ได้สร้างสระโบกขรณี, เราก็ควรสร้างอะไร ๆ บ้าง เราจักทำอะไร
หนอแล ? " ทีนั้น นางได้มีความคิดดังนี้ว่า " ในเวลาที่พวกชนมาสู่
ศาลา ดื่มน้ำอาบน้ำแล้วไป ควรจะประดับระเบียบดอกไม้แล้วจึงไป,
เราจักสร้างสวนดอกไม้. " นางได้ให้เขาสร้างสวนดอกไม้อันน่ารื่นรมย์
แล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า "โดยมากในสวนนั้น ไม่มีต้นไม้ที่เผล็ดดอก
ออกผลชื่อโน้น" ดังนี้ มิได้มี.
ฝ่ายนางสุชาดาคิดเสียว่า "เราเป็นทั้งลูกลุงของนายมฆะ เป็น
ทั้งบาทบริจาริกา (ภริยา). กรรมที่นายมฆะนั่นทำแล้ว ก็เป็นของเรา
เหมือนกัน, กรรมที่เราทำแล้ว ก็เป็นของนายมฆะนั่นเหมือนกัน "
ดังนี้แล้ว ไม่ทำอะไร ๆ มัวแต่งแต่ตัวของตนเท่านั้น ปล่อยเวลาให้
ผ่านพ้นไปแล้ว.

มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ


ฝ่ายนายมฆะ บำเพ็ญวัตตบท 7 เหล่านี้ คือ บำรุงมารดา
บิดา 1 ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล 1 พูดคำสัตย์ 1 ไม่พูด
คำหยาบ 1 ไม่พูดส่อเสียด 1 กำจัดความตระหนี่ 1 ไม่โกรธ 1
ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า
" ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง
มารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน
ตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อ
เสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่มีวาจาสัตย์
ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า "สัปบุรุษ."