เมนู

7. เรื่องท้าวสักกะ [21]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา1
ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาเทน
มฆวา"
เป็นต้น.

เหตุที่ท้าวสักกะได้พระนามต่าง ๆ


ความพิสดารว่า เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ อยู่ในเมืองเวสาลี.
พระองค์ทรงสดับเทศนาในสักกปัญหสูตรของพระตถาคตแล้ว2 ทรงดำริว่า
" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมตรัสสมบัติของท้าวสักกะไว้มากมาย; พระ-
องค์ทรงเห็นแล้วจึงตรัส หรือไม่ทรงเห็นแล้วตรัสหนอแล ? ทรงรู้จัก
ท้าวสักกะหรือไม่หนอ ? เราจักทูลถามพระองค์."
ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าไปเฝ้าถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่; ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ
ที่สมควรข้างหนึ่ง. เจ้ามหาลิ ลิจฉวี ครั้นนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วแล
ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าว
สักกะผู้จอมแห่งเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นแล้วแลหรือ ?"
พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย
อาตมภาพเห็นแล้วแล."

1. ศาลาดุจเรือนยอด. 2. ที. มหา. 10/298.

มหาลิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท้าวสักกะนั้น จักเป็นท้าวสักกะ
ปลอมเป็นแน่, เพราะว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย บุคคล
เห็นได้โดยยาก พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ อาตมภาพ รู้จักทั้งตัวท้าวสักกะ ทั้ง
ธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ ก็ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะ
สมาทานธรรมเหล่าใด, อาตมภาพ ก็รู้จักธรรมเหล่านั้นแล.
มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็น
มนุษย์ ได้เป็นมาณพชื่อมฆะ, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'ท้าวมฆวา;'
มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น
มนุษย์ ได้ให้ทานก่อน (เขา), เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว
ปุรินทท;'
มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น
มนุษย์ ได้ให้ทานโดยเคารพ. เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว
สักกะ;'
มหาลิ ท้าวสักกะเป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น
มนุษย์ ได้ให้ที่พักอาศัย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าววาสวะ;'
มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ทรงดำริข้อความ
ตั้งพันได้โดยครู่เดียว, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'สหัสสักขะ1;'
มหาลิ นางอสุรกัญญาชื่อ สุชาดา เป็นพระปชาบดีของท้าว
สักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว
สุชัมบดี;'

1. สหสฺสกฺโข แปลว่า ผู้เห็นอรรถตั้งพัน.

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งจอมเทพทั้งหลาย เสวยราชสมบัติ
เป็นอิสริยาธิปัตย์แห่งเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์, เพราะฉะนั้น เขาจึง
เรียกว่า ' เทวานมินทะ ;'
มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะแล้ว เพราะได้สมาทาน
วัตตบท 7 ใด, วัตตบท 7 นั้น ได้เป็นอันท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่ง
เทพทั้งหลาย ซึ่ง ( ครั้ง) เป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์
แล้ว; วัตตบท 7 ประการเป็นไฉน ? คือเราพึงเป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดา
ตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอด
ชีวิต; พึงเป็นผู้พูดอ่อนหวานตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่พูดส่อเสียดตลอด
ชีวิต; พึงมีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีเครื่องบริจาค
อันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว1 ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน พึงอยู่ครอบครองเรือนตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้
กล่าวคำสัตย์ตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต; ถ้าความโกรธพึง
เกิดแก่เราไซร้ เราพึงหักห้ามมันเสียพลันทีเดียว ดังนี้, มหาลิ ท้าว
สักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะได้สมาทานวัตตบท 7 ใด, วัตต-
บท 7 นั้น ได้เป็นของท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย (ครั้ง)
เกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ฉะนี้แล
(พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคำไวยากรณ์นี้แล้ว, ได้ตรัสพระ-
พุทธพจน์ภายหลังว่า)

1. หมายความว่า เตรียมหยิบสิ่งของให้ทาน.

" ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง
มารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน
ตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อ
เสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ข่มความโกรธได้ นั้นแลว่า "สัปบุรุษ1."


ท้าวสักกะบำเพ็ญกุศลเมื่อเป็นมฆมาณพ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า " มหาลิ กรรมนี้ท้าวสักกะทำไว้ใน
คราวเป็นมฆมาณพ " ดังนี้แล้ว อันมหาลิ ลิจฉวี ใคร่จะทรงสดับ
ข้อปฏิบัติของท้าวสักกะนั้นโดยพิสดาร จึงทูลถามอีกว่า "มฆมาณพ
ปฏิบัติอย่างไร ? พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า " ถ้ากระนั้น " จงฟังเถิด
มหาลิ " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

เรื่องมฆมาณพ


ในอดีตกาล มาณพชื่อว่ามฆะ ในอจลคามในแคว้นมคธ ไปสู่
สถานที่ทำงานในบ้าน คุ้ยฝุ่นด้วยปลายเท้าในที่แห่งตนยืนแล้ว ได้ทำให้
เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ อีกคนหนึ่งเอาแขนผลักเขา นำออกจากที่
นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธต่อคนนั้น ได้กระทำที่
อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ คนอื่นก็เอาแขนผลักเขานำออกมา
จากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธแม้ต่อคนนั้น ได้
กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วก็พักอยู่. บุรุษทั้งหลายที่ออกไป
แล้ว ๆ จากเรือน ก็เอาแขนผลักเขา นำออกจากสถานที่เขาชำระแล้ว ๆ

1. สํ. ส. 15/337. 2. ที่น่ายินดี