เมนู

ของตนแล้วนอนหลับ, ฝ่ายภิกษุนอกนี้ พักผ่อนในมัชฌิมยามแล้ว
กลับลุกขึ้นทำสมณธรรมในปัจฉิมยาม. ท่านไม่ประมาทอย่างนั้น ต่อ
กาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ภิกษุ
รูปเกียจคร้านนอกนี้ ให้เวลาล่วงไปด้วยความประมาทอย่างเดียว. ภิกษุ
2 รูปนั้น ออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดา
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามภิกษุทั้งสอง


พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารกับภิกษุ 2 รูปนั้นแล้ว ตรัสถาม
ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ประมาททำสมณธรรมกันแลหรือ ?
กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้ว แลหรือ ?" ภิกษุผู้ประมาท
กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่ประมาทของภิกษุนั่น จักมี
แต่ที่ไหน ? ตั้งแต่เวลาไป เธอนอนหลับให้เวลาล่วงไปแล้ว."
พระศาสดา ตรัสถามว่า "ก็เธอเล่า ? ภิกษุ."
ภิกษุรูปเกียจคร้าน ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เก็บฟืนมาต่อเวลายังวัน จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟอยู่ตลอดปฐมยามไม่หลับ
นอน ให้เวลาล่วงไปแล้ว."

ผู้ไม่ปัญญาดีย่อมละทิ้งผู้มีปัญญาทราม


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "เธอประมาทแล้ว ปล่อย
เวลาล่วงไป ( เปล่า) ยังมาพูดว่า ' ตัวไม่ประมาท ' และทำผู้ไม่ประมาท
ให้เป็นผู้ประมาท. เธอเป็นเหมือนม้าตัวทุรพล ขาดเชาว์1แล้วในสำนัก

1. หมายความว่า ฝีเท้า.

แห่งบุตรของเรา, ส่วนบุตรของเรานี่ เป็นเหมือนม้าที่มีเชาว์เร็วในสำนัก
ของเธอ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
6. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุติเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส.
" ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว
ไม่ประมาท, เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย
มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้า
ตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึง
พร้อมด้วยความไม่ประมาท เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ ได้
แก่พระขีณาสพ.
บทว่า ปมตฺเตสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในการ
ปล่อยสติ. บทว่า สุตฺเตสุ คือ (เมื่อสัตว์ทั้งหลาย) ชื่อว่า ประพฤติ
หลับอยู่ทุกอิริยาบถทีเดียว เพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องตื่น คือ สติ.
บทว่า พหุชาคโร ได้แก่ ผู้ดำรงอยู่ในธรรมเป็นเครื่องตื่น คือความ
ไพบูลย์แห่งสติเป็นอันมาก.
บทว่า อพลสฺสํว ความว่า ดุจม้าสินธพอาชาไนยตัวมีเชาวน์เร็ว
วิ่งทิ้งม้าตัวมีกำลังทราม มีเชาวน์ขาดแล้ว โดยความเป็นม้ามีเท้าด้วนไป
ฉะนั้น.
บทว่า สุเมธโส เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้มีปัญญายอดเยี่ยม
ย่อมละบุคคลผู้เห็นปานนั้นไป ด้วยอาคมคือปริยัติบ้าง ด้วยอธิคมคือการ