เมนู

เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น" ดังนี้แล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไป
เป็นประหนึ่งว่า ประทับนั่งอยู่ในที่เฉพาะหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า
5. ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ.
"เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความ
ไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา
เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณา
เห็นหมู่สัตว์ ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อม
พิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้
ยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้น
ดินได้ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุทติ เป็นต้น ความว่า เมื่อใดบัณฑิต
พอกพูนธรรมมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ ไม่ให้โอกาสแก่ความ
ประมาท ชื่อว่า ย่อมบรรเทา คือย่อมขับไล่ซึ่งความประมาทนั้น ด้วย
กำลังแห่งความไม่ประมาท; เหมือนน้ำใหม่ ไหลเข้าสู่สระโบกขรณี
ยังน้ำเก่าให้กระเพื่อมแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่น้ำเก่านั้น ย่อมรุน คือ ย่อม
ระบายน้ำเก่านั้นให้ไหลหนีไป โดยที่สุดของตนฉะนั้นนั่นแล. เมื่อนั้น
บัณฑิตนั้น มีความประมาทอันบรรเทาแล้ว บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร
แก่ความไม่ประมาทนั้นอยู่, ขึ้นสู่ปัญญาเพียงดังปราสาท กล่าวคือ

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ โดยอรรถว่าสูงเยี่ยม ด้วยปฏิปทานั้น ดุจบุคคล
ขึ้นสู่ปราสาททางบันไดฉะนั้น ชื่อว่าผู้ไม่เศร้าโศก เพราะความเป็นผู้ละ
ลูกศร คือความโศกเสียได้แล้ว, ย่อมพิจารณาเห็น คือย่อมมองเห็น
ประชา คือหมู่สัตว์ ผู้ชื่อว่า มีความเศร้าโศก เพราะความเป็นผู้ละลูกศร
คือความโศกยังไม่ได้ ซึ่งจุติอยู่ และเกิดอยู่ ด้วยทิพยจักษุ.
ถามว่า เหมือนอะไร ?
แก้ว่า เหมือนคนผู้ยืนบนยอดเขา ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้นดิน
ได้ฉะนั้น; อธิบายว่า บุคคลผู้ยืนอยู่บนยอดเขา ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่
ที่พื้นดินได้ หรือผู้ยืนอยู่บนปราสาทชั้นบน ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่ใน
บริเวณแห่งปราสาทได้โดยไม่ยากฉันใด; ปราชญ์คือบัณฑิต ได้แก่พระ-
มหาขีณาสพแม้นั้น ก็ย่อมพิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลาย ผู้ยังถอนพืชคือ
วัฏฏะไม่ได้ จุติอยู่และเกิดอยู่โดยไม่ยากฉันนั้น,
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งพระอริยผล
ทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระมหากัสสปเถระ จบ.

2. เรื่องภิกษุ 2 สหาย [20]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 2
สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ" เป็นต้น.

ภิกษุ 2 รูปมีปฏิปทาต่างกัน


ได้ยินว่า ภิกษุ 2 รูปนั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา
แล้ว เข้าไปยังวิหารอันตั้งอยู่ในป่า. ในภิกษุ 2 รูปนั้น รูปหนึ่ง เก็บ
ฟืนมาต่อเวลายังวันแล้ว จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟสนทนากับพวกภิกษุ
หนุ่มและสามเณรอยู่ตลอดปฐมยาม. รูปหนึ่งไม่ประมาท ทำสมณธรรม
อยู่ ตักเตือนรูปนอกนี้ว่า "ผู้มีอายุ ท่านอย่าทำอย่างนั้น, เพราะ
อบาย1 4 เป็นเช่นเรือนที่เป็นที่นอนแห่งชนผู้ประมาทแล้ว, ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันบุคคลผู้โอ้อวด ไม่อาจให้ทรงยินดีได้."
ท่านไม่ฟังคำตักเตือนของภิกษุนั้น. ภิกษุนอกนี้ คิดว่า "ภิกษุนี้ไม่เชื่อ
ถ้อยคำ2" จึงไม่ปรารถนา (ตักเตือน) ท่านไม่ประมาทแล้วได้ทำ
สมณธรรม. ฝ่ายพระเถระผู้เกียจคร้าน ผิงไฟในปฐมยามแล้ว ใน
เวลาที่ภิกษุนอกนี้เดินจงกรมแล้วเข้าไปสู่ห้อง จึงเข้าไป พูดว่า "ท่านผู้
เกียจคร้านมาก ท่านเข้าไปสู่ป่า เพื่อต้องการหลับนอน (หรือ):
อันบุคคลเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นทำสมณธรรม
ตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ไม่ควรหรือ ?" ดังนี้แล้ว ก็เข้าไปยังที่อยู่

1. อบาย 4 คือ 1. นิรยะ นรก 2. ดิรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน 3. ปิตติวิสัย ภูมิแห่ง
เปรต 4. อสุรกาย พวกอสุรกาย. 2. น วจนกฺขโม ไม่อดทนต่อถ้อยคำ.