เมนู

เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น" ดังนี้แล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไป
เป็นประหนึ่งว่า ประทับนั่งอยู่ในที่เฉพาะหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า
5. ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ.
"เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความ
ไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา
เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณา
เห็นหมู่สัตว์ ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อม
พิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้
ยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้น
ดินได้ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุทติ เป็นต้น ความว่า เมื่อใดบัณฑิต
พอกพูนธรรมมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ ไม่ให้โอกาสแก่ความ
ประมาท ชื่อว่า ย่อมบรรเทา คือย่อมขับไล่ซึ่งความประมาทนั้น ด้วย
กำลังแห่งความไม่ประมาท; เหมือนน้ำใหม่ ไหลเข้าสู่สระโบกขรณี
ยังน้ำเก่าให้กระเพื่อมแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่น้ำเก่านั้น ย่อมรุน คือ ย่อม
ระบายน้ำเก่านั้นให้ไหลหนีไป โดยที่สุดของตนฉะนั้นนั่นแล. เมื่อนั้น
บัณฑิตนั้น มีความประมาทอันบรรเทาแล้ว บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร
แก่ความไม่ประมาทนั้นอยู่, ขึ้นสู่ปัญญาเพียงดังปราสาท กล่าวคือ