เมนู

5. เรื่องพระมหากัสสปเถระ [19]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระมหา
กัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาทํ อปฺปมาเทน" เป็นต้น.

พระเถระตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุ


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระอยู่ในปิปผลิคูหา1 เที่ยวไป
บิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งเจริญอาโลกกสิณ2 ตรวจดูสัตว์ทั้งหลายผู้ประ-
มาทแล้วและไม่ประมาทแล้ว ซึ่งจุติและเกิดในทีทั้งหลาย มีน้ำ แผ่นดิน
และภูเขาเป็นต้นอยู่ ด้วยทิพยจักษุ.
พระศาสดา ประทับนั่งในพระเชตวันนั่นแล ทรงตรวจดูด้วย
ทิพยจักษุว่า "วันนี้ กัสสปผู้บุตรของเรา อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร
หนอ ?" ทรงทราบว่า "ตรวจดูการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายอยู่,"
จึงตรัสว่า "ชื่อว่าการจุติและการเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย แม้อันพุทธญาณ
ไม่ทรงกำหนด, ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำการกำหนดสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือปฏิ-
สนธิในท้องของมารดา อันมารดาบิดายังไม่ทันรู้ก็จุติเสียแล้วได้, การรู้จุติ
และปฏิสนธิของสัตว์เหล่านั้น ไม่ใช่วิสัยของเธอ, วิสัยของเธอมีประมาณ
น้อย, ส่วนการรู้การเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติและเกิดอยู่โดยประการทั้งปวง

1. ปิปฺผลิ แปลว่า ไม้เลียบหรือดีปลี รวมกับคูหาศัพท์ แปลว่า ถ้ำอันประกอบด้วยไม้เลียบ
หรือดีปลี อีกนัยหนึ่ง ถ้ำนี้ พระมหากัสสปเถระอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น นามเดิมของพระเถระ
ชื่อว่า ปิปผลิ ถ้าแปลมุ่งเอาชื่อพระเถระเป็นที่ตั้งแล้ว ก็แปลว่า ถ้ำเป็นที่อยู่ของพระปิปผลิ.
2. อาโลกกสิณ กสิณกำหนดเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์.

เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น" ดังนี้แล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไป
เป็นประหนึ่งว่า ประทับนั่งอยู่ในที่เฉพาะหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า
5. ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ
ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ.
"เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความ
ไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา
เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณา
เห็นหมู่สัตว์ ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อม
พิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้
ยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้น
ดินได้ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุทติ เป็นต้น ความว่า เมื่อใดบัณฑิต
พอกพูนธรรมมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ ไม่ให้โอกาสแก่ความ
ประมาท ชื่อว่า ย่อมบรรเทา คือย่อมขับไล่ซึ่งความประมาทนั้น ด้วย
กำลังแห่งความไม่ประมาท; เหมือนน้ำใหม่ ไหลเข้าสู่สระโบกขรณี
ยังน้ำเก่าให้กระเพื่อมแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่น้ำเก่านั้น ย่อมรุน คือ ย่อม
ระบายน้ำเก่านั้นให้ไหลหนีไป โดยที่สุดของตนฉะนั้นนั่นแล. เมื่อนั้น
บัณฑิตนั้น มีความประมาทอันบรรเทาแล้ว บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร
แก่ความไม่ประมาทนั้นอยู่, ขึ้นสู่ปัญญาเพียงดังปราสาท กล่าวคือ