เมนู

ประมาท, อย่าตามประกอบความเชยชิดด้วย
ความยินดีในกาม; เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว
เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอันไพบูลย์."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็น
ชนพาล คือผู้ที่ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า.
บทว่า ทุมฺเมธิโน คือไร้ปัญญา. พวกชนพาลนั้น เมื่อไม่เห็น
โทษในความประมาท ชื่อว่าย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาท คือ
ว่า ย่อมให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.
บทว่า เมธาวี เป็นต้น ความว่า ส่วนบัณฑิตผู้ประกอบด้วย
ปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์
คือ รัตนะ 7 ประการ อันประเสริฐ คือสูงสุด ซึ่งสืบเนืองมาแต่วงศ์
ตระกูล. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายเมื่อเห็นอานิสงส์ในทรัพย์
ว่า "เราทั้งหลาย อาศัยทรัพย์อันสูงสุด จักถึงสมบัติคือกามคุณ จักทำ
ทางเป็นที่ไปสู่ปรโลกให้หมดจดได้," ย่อมรักษาทรัพย์นั้นไว้ฉันใด; แม้
บัณฑิตก็ฉันนั้น เมื่อเห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า "ชนผู้ไม่ประ-
มาทแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมบรรลุ
โลกุตรธรรมมีมรรคและผลเป็นต้น ย่อมยังวิชชา 3 (และ) อภิญญา 61
ให้ถึงพร้อมได้." ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.

1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้, ทิพโสต หูทิพย์, เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น. ปุพเพนิวา-
สานุสสติ ระลึกชาติได้, ทิพยจักขุ ตาทิพย์, อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น, รวมเป็น
อภิญญา 6. 3 ข้อเบื้องปลาย เรียกว่า วิชชา 3 ก็ได้.

บทว่า มา ปมาทํ ความว่า เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าตาม
ประกอบความประมาท คืออย่าให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.
บาทคาถาว่า มา กามรติสนฺถวํ ความว่า อย่าตามประกอบ คือ
อย่าคิด ได้แก่ อย่าได้เฉพาะแม้ซึ่งความเชยชิดด้วยอำนาจแห่งตัณหา กล่าว
คือ ความยินดีในวัตถุกามและกิเลสกาม.
บทว่า อปฺปมฺโต หิ เป็นต้น ความว่า เพราะว่าบุคคลผู้ไม่
ประมาทแล้ว โดยความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เพ่งอยู่ ย่อมบรรลุนิพพาน-
สุขอันไพบูลย์ คือโอฬาร.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน
เป็นต้น. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพาลนักษัตร จบ.

5. เรื่องพระมหากัสสปเถระ [19]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระมหา
กัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาทํ อปฺปมาเทน" เป็นต้น.

พระเถระตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุ


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระอยู่ในปิปผลิคูหา1 เที่ยวไป
บิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งเจริญอาโลกกสิณ2 ตรวจดูสัตว์ทั้งหลายผู้ประ-
มาทแล้วและไม่ประมาทแล้ว ซึ่งจุติและเกิดในทีทั้งหลาย มีน้ำ แผ่นดิน
และภูเขาเป็นต้นอยู่ ด้วยทิพยจักษุ.
พระศาสดา ประทับนั่งในพระเชตวันนั่นแล ทรงตรวจดูด้วย
ทิพยจักษุว่า "วันนี้ กัสสปผู้บุตรของเรา อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร
หนอ ?" ทรงทราบว่า "ตรวจดูการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายอยู่,"
จึงตรัสว่า "ชื่อว่าการจุติและการเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย แม้อันพุทธญาณ
ไม่ทรงกำหนด, ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำการกำหนดสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือปฏิ-
สนธิในท้องของมารดา อันมารดาบิดายังไม่ทันรู้ก็จุติเสียแล้วได้, การรู้จุติ
และปฏิสนธิของสัตว์เหล่านั้น ไม่ใช่วิสัยของเธอ, วิสัยของเธอมีประมาณ
น้อย, ส่วนการรู้การเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติและเกิดอยู่โดยประการทั้งปวง

1. ปิปฺผลิ แปลว่า ไม้เลียบหรือดีปลี รวมกับคูหาศัพท์ แปลว่า ถ้ำอันประกอบด้วยไม้เลียบ
หรือดีปลี อีกนัยหนึ่ง ถ้ำนี้ พระมหากัสสปเถระอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น นามเดิมของพระเถระ
ชื่อว่า ปิปผลิ ถ้าแปลมุ่งเอาชื่อพระเถระเป็นที่ตั้งแล้ว ก็แปลว่า ถ้ำเป็นที่อยู่ของพระปิปผลิ.
2. อาโลกกสิณ กสิณกำหนดเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์.