เมนู

ประมาท, อย่าตามประกอบความเชยชิดด้วย
ความยินดีในกาม; เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว
เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอันไพบูลย์."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็น
ชนพาล คือผู้ที่ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า.
บทว่า ทุมฺเมธิโน คือไร้ปัญญา. พวกชนพาลนั้น เมื่อไม่เห็น
โทษในความประมาท ชื่อว่าย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาท คือ
ว่า ย่อมให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.
บทว่า เมธาวี เป็นต้น ความว่า ส่วนบัณฑิตผู้ประกอบด้วย
ปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์
คือ รัตนะ 7 ประการ อันประเสริฐ คือสูงสุด ซึ่งสืบเนืองมาแต่วงศ์
ตระกูล. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายเมื่อเห็นอานิสงส์ในทรัพย์
ว่า "เราทั้งหลาย อาศัยทรัพย์อันสูงสุด จักถึงสมบัติคือกามคุณ จักทำ
ทางเป็นที่ไปสู่ปรโลกให้หมดจดได้," ย่อมรักษาทรัพย์นั้นไว้ฉันใด; แม้
บัณฑิตก็ฉันนั้น เมื่อเห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า "ชนผู้ไม่ประ-
มาทแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมบรรลุ
โลกุตรธรรมมีมรรคและผลเป็นต้น ย่อมยังวิชชา 3 (และ) อภิญญา 61
ให้ถึงพร้อมได้." ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.

1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้, ทิพโสต หูทิพย์, เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น. ปุพเพนิวา-
สานุสสติ ระลึกชาติได้, ทิพยจักขุ ตาทิพย์, อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น, รวมเป็น
อภิญญา 6. 3 ข้อเบื้องปลาย เรียกว่า วิชชา 3 ก็ได้.