เมนู

ก็ครั้นเมื่อนักษัตรสุดสิ้นหลงแล้ว, ในวันที่ 8 อริยสาวกเหล่านั้น
นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้เสด็จเข้าไปยังพระนคร
ถวายทานใหญ่ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ 7 วันของพวกข้าพระองค์ล่วงไปได้โดยยากอย่างยิ่ง, เมื่อพวก
ข้าพระองค์ได้ยินวาจามิใช่ของสัตบุรุษของพวกพาล, หูทั้งสองเป็นประ-
หนึ่งว่าถึงอาการแตกทำลาย, ใคร ๆ ก็ไม่ละอายแก่ใคร ๆ, เพราะเหตุนั้น
พวกข้าพระองค์ จึงไม่ให้พระองค์เสด็จเข้าภายในพระนคร, ถึงพวก
ข้าพระองค์ก็ไม่อาจออกจากเรือน."

คนพาลกับคนฉลาดมีอาการต่างกัน


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า
" กิริยาของพวกผู้มีปัญญาทราม ย่อมเป็นเช่นนี้, ส่วนผู้มีปัญญาทั้งหลาย
รักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันเป็นสาระ ย่อมบรรลุสมบัติคือ
อมตมหานิพพาน" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
4. ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
"พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความประมาท, ส่วนผู้มีปัญญา
ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อัน
ประเสริฐ, ท่านทั้งหลายอย่าตามประกอบความ

ประมาท, อย่าตามประกอบความเชยชิดด้วย
ความยินดีในกาม; เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว
เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอันไพบูลย์."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็น
ชนพาล คือผู้ที่ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า.
บทว่า ทุมฺเมธิโน คือไร้ปัญญา. พวกชนพาลนั้น เมื่อไม่เห็น
โทษในความประมาท ชื่อว่าย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาท คือ
ว่า ย่อมให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.
บทว่า เมธาวี เป็นต้น ความว่า ส่วนบัณฑิตผู้ประกอบด้วย
ปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์
คือ รัตนะ 7 ประการ อันประเสริฐ คือสูงสุด ซึ่งสืบเนืองมาแต่วงศ์
ตระกูล. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายเมื่อเห็นอานิสงส์ในทรัพย์
ว่า "เราทั้งหลาย อาศัยทรัพย์อันสูงสุด จักถึงสมบัติคือกามคุณ จักทำ
ทางเป็นที่ไปสู่ปรโลกให้หมดจดได้," ย่อมรักษาทรัพย์นั้นไว้ฉันใด; แม้
บัณฑิตก็ฉันนั้น เมื่อเห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า "ชนผู้ไม่ประ-
มาทแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมบรรลุ
โลกุตรธรรมมีมรรคและผลเป็นต้น ย่อมยังวิชชา 3 (และ) อภิญญา 61
ให้ถึงพร้อมได้." ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.

1. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้, ทิพโสต หูทิพย์, เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น. ปุพเพนิวา-
สานุสสติ ระลึกชาติได้, ทิพยจักขุ ตาทิพย์, อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น, รวมเป็น
อภิญญา 6. 3 ข้อเบื้องปลาย เรียกว่า วิชชา 3 ก็ได้.