เมนู

4. เรื่องพาลนักษัตร [18]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนักษัตร
ของคนพาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาทมนุยุญฺชนฺติ" เป็นต้น.

คนพาลชาวเมืองสาวัตถีเล่นนักษัตร


ความพิสดารว่า ดังได้สดับมา ในสมัยหนึ่ง เขาป่าวประกาศชื่อ
พาลนักษัตร1 ในพระนครสาวัตถี. ในนักษัตรนั้น พวกชนพาลผู้มีปัญญา
ทราม เอาเถ้าและโคมัย (มูลโค) ทาร่างกาย เที่ยวกล่าววาจาของ
อสัตบุรุษไปตลอด 7 วัน, เห็นใคร ๆ เป็นญาติก็ตาม เป็นสหายก็ตาม
เป็นบรรพชิตก็ตาม ชื่อว่าละอายอยู่ ไม่มี, ยืนกล่าววาจาของอสัตบุรุษ
อยู่ที่ประตูทุก ๆ ประตู. มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจฟังอสัปปุริสวาทของพวก
เขาได้ จึงส่งทรัพย์ให้กึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง
ตามกำลัง, พวกเขาถือเอาทรัพย์ที่ได้แล้ว ๆ ที่ประตูเรือนของมนุษย์เหล่า
นั้น ๆ แล้วก็หลีกไป.
ก็ในกาลนั้น พระนครสาวัตถี มีอริยสาวกประมาณ 5 โกฏิ. ท่าน
เหล่านั้นส่งข่าวไปถวายพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ อย่าเสด็จเข้าไปสู่พระนคร จงประทับอยู่แต่
ในพระวิหารสิ้น 7 วัน," ก็แลตลอด 7 วันนั้น (ท่านเหล่านั้น) จัด
ข้าวยาคูและภัตเป็นต้น (ส่งไป) ในพระวิหารนั่นแลเพื่อภิกษุสงฆ์ แม้
ตนเองก็ไม่ออกจากเรือน.

1. การรื่นเริงของคนพาล.

ก็ครั้นเมื่อนักษัตรสุดสิ้นหลงแล้ว, ในวันที่ 8 อริยสาวกเหล่านั้น
นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้เสด็จเข้าไปยังพระนคร
ถวายทานใหญ่ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ 7 วันของพวกข้าพระองค์ล่วงไปได้โดยยากอย่างยิ่ง, เมื่อพวก
ข้าพระองค์ได้ยินวาจามิใช่ของสัตบุรุษของพวกพาล, หูทั้งสองเป็นประ-
หนึ่งว่าถึงอาการแตกทำลาย, ใคร ๆ ก็ไม่ละอายแก่ใคร ๆ, เพราะเหตุนั้น
พวกข้าพระองค์ จึงไม่ให้พระองค์เสด็จเข้าภายในพระนคร, ถึงพวก
ข้าพระองค์ก็ไม่อาจออกจากเรือน."

คนพาลกับคนฉลาดมีอาการต่างกัน


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า
" กิริยาของพวกผู้มีปัญญาทราม ย่อมเป็นเช่นนี้, ส่วนผู้มีปัญญาทั้งหลาย
รักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันเป็นสาระ ย่อมบรรลุสมบัติคือ
อมตมหานิพพาน" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
4. ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ.
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
"พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความประมาท, ส่วนผู้มีปัญญา
ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อัน
ประเสริฐ, ท่านทั้งหลายอย่าตามประกอบความ