เมนู

ย่อมตามผู้ทำไป เหมือนล้ออันหมุนตามรอยเท้าโคพลิพัท (คือโคที่เขา
เทียมเกวียนบรรทุกสินค้า) ตัวเข็นธุระไปอยู่" ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว
พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชา ได้ตรัสพระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับ
พระราชสาสน์ ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว ด้วยพระราชลัญจกรว่า
1. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ.
"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จแล้วด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี
ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น."


แก้อรรถ


จิตที่เป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด ต่างโดยจิตมีกามาวจรกุศลจิต
เป็นต้น ชื่อว่า "มโน" ในพระคาถานั้น. ถึงอย่างนั้น ในบทนี้
เมื่อนิยม กะ กำหนดลง ด้วยอำนาจจิตที่เกิดขึ้นแก่หม้อนั้นในคราวนั้น
ย่อมได้จำเพาะจิต ที่เป็นไปกับด้วยโทมนัส ประกอบด้วยปฏิฆะ-
(อย่างเดียว).
บทว่า ปุพฺพงฺคมา คือ ชื่อว่า มาตามพร้อมด้วยจิตนั้น อันเป็น
หัวหน้าไปก่อน.
บทว่า ธมฺมา คือ ชื่อว่า ธรรมเป็น 4 อย่าง ด้วยอำนาจ
คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม และนิสสัตตนิชชีวธรรม. ในธรรม
4 ประการนั้น ธรรมศัพท์นี้ในคำว่า

"ธรรมและอธรรม 2 ประการ ให้ผลเหมือนกัน
หามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อม
ให้ถึงสุคติ."

ดังนี้ ชื่อว่าคุณธรรม (แปลว่าธรรมคือคุณ). ธรรมศัพท์นี้ ใน
คำว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมงามในเบื้องต้น แก่ท่านทั้งหลาย"
ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าเทศนาธรรม (แปลว่าธรรมคือเทศนา ). ธรรมศัพท์
นี้ ในคำว่า "ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กุลบุตรบางจำพวกในโลกนี้ ย่อม
เรียนธรรม คือสุตตะ เคยยะ" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ปริยัติธรรม
(แปลว่าธรรมคือปริยัติ). ธรรมศัพท์นี้ ในคำว่า "ก็สมัยนั้นแล
ธรรมทั้งหลายย่อมมี ขันธ์ทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
นิสสัตตธรรม (แปลว่าธรรมคือสภาพที่มิใช่สัตว์) นัยแม้ในบทว่า
"นิชชีวธรรม" (ซึ่งแปลว่าธรรมคือสภาพมิใช่ชีวิต) ก็ดุจเดียวกัน.
ในธรรม 4 ประการนั้น นิสสัตตธรรมหรือนิชชีวธรรม พระศาสดาทรง
ประสงค์แล้วในที่นี้. นิสสัตตธรรมหรือนิชชีวธรรมนั้น โดยความก็
อรูปขันธ์ 3 ประการ คือ "เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์."
เหตุว่าอรูปขันธ์ 3 ประการนั่น ชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้าของอรูปขันธ์ 3
ประการนั่น.
มีคำถามว่า "ก็ใจ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดใน
ขณะเดียวกัน พร้อมกับธรรมเหล่านั้น ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน ชื่อว่า
เป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?"
มีคำแก้ว่า " ใจ ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้น ด้วย
อรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อพวก

โจรเป็นอันมาก ทำโจรกรรมมีปล้นบ้านเป็นต้นอยู่ด้วยกัน เมื่อมีใคร
ถามว่า "ใครเป็นหัวหน้าของพวกมัน ?" ผู้ใดเป็นปัจจัยของพวกมัน คือ
อาศัยผู้ใดจึงทำกรรมนั้นได้ ผู้นั้นชื่อทัตตะก็ตาม ชื่อมัตตะก็ตาม เขา
เรียกว่าหัวหน้าของมัน ฉันใด; คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้อรรถถึงพร้อม
นี้ บัณฑิตพุงรู้แจ้ง ฉันนั้น. ใจชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมทั้งหลายนั่น
ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้นฉะนี้ เหตุนั้น ธรรม
ทั้งหลายนั่น จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า, เพราะเมื่อใจไม่เกิดขึ้น ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้. ฝ่ายใจ ถึงเจตสิกธรรมบางเหล่า
แม้ไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แท้. อนึ่ง ใจชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรม
ทั้งหลายนั่น ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายนั่นจึงชื่อว่า
มีใจเป็นใหญ่. เหมืออย่างว่า ชนทั้งหลายมีโจรผู้เป็นหัวโจกเป็นต้น
ผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของชนทั้งหลายมีโจรเป็นต้น ฉันใด,
ใจผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น, เหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งทั้งหลายนั้น ๆ เสร็จ
แล้วด้วยวัตถุมีไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าของสำเร็จแล้วด้วยไม้เป็นต้น ฉันใด.
แม้ธรรมทั้งหลายนั่น ได้ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเสร็จมาแต่ใจ
ฉันนั้น.
บทว่า ปทุฏฺเฐน คือ อันโทษมีอภิชฌาเป็นต้นซึ่งจรมาประทุษ-
ร้ายแล้ว. จริงอยู่ ใจปกติชื่อว่าภวังคจิต, ภวังคจิตนั้นไม่ต้องโทษ
ประทุษร้ายแล้ว. เหมือนอย่างว่า น่าใสเศร้าหมองแล้ว เพราะสีทั้งหลาย
มีสีเขียวเป็นต้นซึ่งจรมา (กลับ ) เป็นน้ำต่างโดยประเภทมีน้ำเขียว
เป็นต้น จะชื่อว่าน้ำใหม่ก็มิใช่ จะชื่อว่าน้ำใสตามเดิมนั่นแลก็มิใช่ ฉันใด,

ภวังคจิตแม้นั้น อันโทษมีอภิชฌาเป็นต้น ที่จรมาประทุษร้ายแล้ว จะชื่อ
ว่าจิตใหม่ก็มิใช่ จะชื่อว่าภวังคจิตตามเดิมนั่นแลก็มิใช่ ฉันนั้น, เหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่มัน
เศร้าหมองแล้ว เหตุอุปกิเลสทั้งหลายซึ่งจรมาแล" ดังนี้. ถ้าบุคคลมี
ใจร้ายแล้วอย่างนี้.
บาทพระคาถาว่า ภาสติ วา กโรติ วา คือ เมื่อเขาพูด ย่อมพูด
เฉพาะแต่วจีทุจริต 4 อย่าง, เมื่อทำ ย่อมทำ เฉพาะแต่กายทุจริต 3
อย่าง, เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ เพราะความที่ตัวเป็นผู้มีใจอันโทษมีอภิชฌา
เป็นต้นประทุษร้ายแล้วนั้น ย่อมทำมโนทุจริต 3 อย่างให้เต็ม. อกุศล-
กรรมบถ 10 อย่างของเขา ย่อมถึงความเต็มที่ ด้วยประการอย่างนี้.
บาทพระคาถาว่า ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ ความว่า ทุกข์ย่อมตาม
บุคคลนั้นไป เพราะทุจริต 3 อย่างนั้น คือว่า ทุกข์ที่เป็นผลทั้งเป็นไป
ในกาย ทั้งเป็นไปในจิต โดยบรรยายนี้ว่า ทุกข์มีกายเป็นที่ตั้งบ้าง ทุกข์
มีจิตนอกนี้เป็นที่ตั้งบ้าง ย่อมไปตามอัตภาพนั้น ผู้ไปอยู่ในอบาย 4
ก็ดี ในหมู่มนุษย์ก็ดี เพราะอานุภาพแห่งทุจริต.
มีคำถามว่า "ทุกข์ย่อมติดตามบุคคลนั้นเหมือนอะไร ?"
มีคำแก้ว่า เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าของโคพลิพัทตัวเข็นไป
อยู่, อธิบายว่า "เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าของโคพลิพัทอันเขาเทียม
ไว้ที่แอก นำแอกไปอยู่. เหมือนอย่างว่า มันลากไปวันหนึ่งก็ดี สองวัน
ก็ดี สิบวันก็ดี กึ่งเดือนก็ดี ย่อมไม่อาจให้ล้อหมุนกลับ คือ ไม่อาจ
ละล้อไปได้, โดยที่แท้เมื่อมันก้าวไปข้างหน้า แอกก็เบียดคอ (ของมัน)
เมื่อมันถอยหลังล้อก็ขูดเนื้อที่ขา, ล้อเบียดเบียนด้วยเหตุ 2 ประการนี้

หมุนตามรอยเท้าของมันไป ฉันใด, ทุกข์ทั้งที่เป็นไปทางกาย ทั้งที่เป็น
ไปทางจิต อันมีทุจริตเป็นมูล ย่อมติดตามบุคคลผู้มีใจร้ายแล้ว ทำทุจริต
3 ประการให้เต็มที่ตั้งอยู่ ในที่เขาไปแล้วนั้น ๆ มีนรกเป็นต้น ฉันนั้นแล.
ในกาลจบคาถา ภิกษุสามพันรูป ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์มีผลแม้แก่บริษัทผู้
ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล้ว
เรื่องพระจักขุปาลเถระ จบ.

2. เรื่องมัฏฐกุณฑลี [2]


ข้อความเบื้องต้น


ฝ่ายพระคาถาที่สองว่า "มโนปุพฺพงฺคมา" เป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงปรารภมัฏฐกุณฑลีมาณพ ภาษิตแล้ว ในกรุงสาวัตถี
นั่นแล.

พราหมณ์ทำตุ้มหูให้บุตร


ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ อทินน-
ปุพพกะ.
เขาไม่เคยให้สิ่งของอะไร ๆ แก่ใคร ๆ. เพราะฉะนั้นประชุมชน
จึงได้ตั้งชื่อว่า "อทินนปุพพกะ1." เขาได้มีบุตรคนเดียวเป็นที่รักใคร่
พอใจ. ภายหลัง เขาอยากจะทำเครื่องประดับให้บุตร คิดว่า "ถ้าเราจัก
จ้างช่างทอง ก็จะต้องให้ค่าบำเหน็จ " ดังนี้แล้วจึงแผ่ทองคำ ทำให้
เป็นตุ้มหูเกลี้ยง ๆ เสร็จแล้ว ได้ให้ (แก่บุตรของตน). เพราะฉะนั้น
บุตรของเขาจึงได้ปรากฏโดยชื่อว่า "มัฏฐกุณฑลี."

รักษาบุตรเองเพราะกลัวเสียขวัญข้าว


ในเวลาเมื่อบุตรนั้นอายุได้ 16 ปี เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. มารดา
แลดูบุตรแล้ว จึงพูดกะพราหมณ์ (ผู้สามี) ว่า " พราหมณ์ โรคเกิด
ขึ้นแล้วแก่บุตรของท่าน, ขอท่านจงหาหมอมารักษาเขาเสียเถิด."
พราหมณ์ตอบว่า "นางผู้เจริญ ถ้าเราจะหาหมอมา, เราจะต้อง

1. ผู้ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร.