เมนู

ทรงรำพึงถึงอาการของภิกษุบริษัท


พระศาสดาทรงพิจารณาดูบริษัท ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน
ทรงรำพึงว่า " บริษัทนี้ งามยิ่งนัก, การคะนองมือก็ดี คะนองเท้า
ก็ดี เสียงไอก็ดี เสียงจามก็ดี แม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มี, ภิกษุ
เหล่านี้แม้ทั้งหมด มีความเคารพด้วยพุทธคารวะ อันเดชแห่งพระ-
พุทธเจ้าคุกคามแล้ว . เมื่อเรานั่ง, ( เฉยเสีย) ไม่พูดแม้ตลอดชั่วอายุ
ก็รูปไหน ๆ จักหายกเรื่องขึ้นพูดก่อนไม่, ชื่อว่าธรรมเนียมของการ
ยกเรื่องขึ้น เราควรรู้, เราเองจักพูดขึ้นก่อน" ดังนี้แล้ว ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงพรหม ตรัสถามว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า ? ก็แล
เรื่องอะไรที่พวกเธอหยุดค้างไว้ในระหว่าง ?" เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูล
ว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกหาได้เป็น
ผู้โง่แต่ในบัดนี้เท่านั้นไม่, แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้โง่แล้วเหมือนกัน;
อนึ่ง เราเป็นที่พำนักอาศัยของเธอเฉพาะในบัดนี้อย่างเดียวหามิได้, ถึง
ในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พำนักอาศัยแล้วเหมือนกัน; และในกาลก่อน
เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของแห่งโลกิยทรัพย์แล้ว, บัดนี้ ได้ทำให้
เป็นเจ้าของแห่งโลกุตรทรัพย์," อันภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะสดับเนื้อความนั้น
โดยพิสดาร ทูลอัญเชิญแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (เล่าว่า)

เรื่องมาณพเรียนศิลปะในกรุงตักกสิลา


ในอดีตกาล มาณพชาวพระนครพาราณสีคนหนึ่ง ไปยังกรุง
ตักกสิลาแล้ว เป็นธัมมันเตวาสิกของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อประสงค์

เรียนศิลปะ ได้เป็นผู้อุปการะอาจารย์อย่างยิ่ง ในระหว่างมาณพ 500,
ทำกิจทุกอย่าง มีนวดเท้าเป็นต้น, แต่เพราะเป็นคนโง่ จึงไม่สามารถ
จะเรียนอะไร ๆ ได้, อาจารย์แม้พยายามด้วยคิดเห็นว่า "ศิษย์คนนี้
มีอุปการะแก่เรามาก, จักให้เขาศึกษาให้ได้" ก็ไม่สามารถให้ศึกษา
อะไร ๆ ได้.
เขาอยู่สิ้นกาลนาน แม้คาถาเดียวก็ไม่สามารถจะเรียน (ให้จำ) ได้
นึกระอา เลยลาอาจารย์ว่า " จักไปละ." อาจารย์คิดว่า "ศิษย์คนนี้
อุปการะเรา, เราก็หวังความเป็นบัณฑิตแก่เขาอยู่, แต่ไม่สามารถจะทำ
ความเป็นบัณฑิตนั้นได้, จำเป็นที่เราจะต้องทำอุปการะตอบแก่ศิษย์คนนี้
ให้ได้, จักผูกมนต์ให้เขาสักบทหนึ่ง," ท่านนำเขาไปสู่ป่า ผูกมนต์นี้ว่า
"ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึการณา ฆเฏสิ ? อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ."
(ท่านเพียรไปเถิด เพียรไปเถิด, เพราะเหตุไร ? ท่านจึงเพียร, แม้เรา
ก็รู้เหตุนั้นอยู่ รู้อยู่ ) ดังนี้แล้ว ให้เขาเรียนทบทวนกลับไปกลับมาหลาย
ร้อยครั้ง แล้วถามว่า " เธอจำได้หรือ *?" เมื่อเขาตอบว่า "ผมจำได้
ขอรับ" ชี้แจงว่า " ธรรมดาศิลปะที่คนโง่ทำความพยายามทำให้คล่อง
แล้ว ย่อมไม่เลือน" แล้วให้เสบียงทาง สั่งว่า " เธอ จงไป, อาศัย
มนต์นี้เลี้ยงชีพเถิด, แต่เพื่อประโยชน์จะไม่ให้มนต์เลือนไป เธอพึงทำ
การสาธยายมนต์นั้นเป็นนิตย์" ดังนี้แล้ว ก็ส่งเขาไป.
ครั้นในเวลาเขาถึงพระนครพาราณสี มารดาได้ทำสักการะสัมมานะ
ใหญ่ ด้วยดีใจว่า " บุตรของเราศึกษาศิลปะกลับมาแล้ว."

1. ปญฺญายติ เต แปลว่า มนต์นั้นย่อมปรากฏแก่เธอ ?

พระเจ้าแผ่นดินตรวจความเป็นไปของราษฎร


ในกาลนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงพิจารณาว่า "โทษบางประการ
ในเพราะกรรมทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้นของเรา มีอยู่หรือหนอ ?" ไม่
ทรงเห็นกรรมอะไร ๆ อันไม่เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ ก็ทรงดำริว่า
" ธรรมดาโทษของตน หาปรากฏแก่ตนไม่, ย่อมปรากฏแก่คนเหล่าอื่น;
เราจักกำหนด (ความเป็นไป) ของพวกชาวเมือง" ดังนี้แล้ว จึงทรง
ปลอมเพศ เสด็จออกไปในเวลาเย็น ทรงดำริว่า " ธรรมดาการสนทนา
ปราศรัยของพวกมนุษย์ผู้นั่งบริโภคอาหารในเวลาเย็น ย่อมมีประการต่าง ๆ
กัน; ถ้าเราครองราชย์โดยอธรรม, ชนทั้งหลายคงจะพูดกันว่า ' พวกเรา
ถูกพระเจ้าแผ่นดินผู้ไม่ตั้งอยู่โดยธรรม ผู้ชั่วช้า เบียดเบียนด้วยสินไหม1
และพลีเป็นต้น' ถ้าเราครองราชย์โดยธรรม, ชนทั้งหลายก็จักกล่าวคำ
เป็นต้นว่า ' ขอพระเจ้าอยู่หัวของเราทั้งหลาย จงทรงพระชนมายุยืนเถิด '
แล้วก็สรรเสริญคุณของเรา" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเที่ยวไปตามลำดับฝาเรือน
นั้น ๆ.
ในขณะนั้น พวกโจรผู้หากินทางขุดอุโมงค์ กำลังขุดอุโมงค์ใน
ระหว่างเรือน 2 หลัง เพื่อต้องการเข้าเรือนทั้งสอง โดยอุโมงค์เดียวกัน.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นพวกมันแล้ว ได้ทรงแอบซุ่มอยู่ในเงาเรือน.
ในเวลาที่พวกมันขุดอุโมงค์เข้าเรือนได้แล้วตรวจดูสิ่งของ มาณพตื่นขึ้น
แล้ว ก็สาธยายมนต์นั้น กล่าวว่า "ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ ?
อหํปิ ตํ ชานามิ ชานามิ."


1. ทณฺฑ แปลว่า อาชญาก็ได้.