เมนู

ไม่สามารถจะให้เรียนคาถาบทเดียวโดย 4 เดือนได้, ไล่ออกจากวิหารด้วย
เข้าใจว่า ' พระรูปนี้โง่; ' แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัต
กับทั้งปฏิสัมภิทา ในระหว่างฉัน (อาหาร) มื้อเดียวเท่านั้น เพราะ
พระองค์เป็นพระธรรมราชาชั้นเยี่ยม (หาผู้ทัดเทียมมิได้); พระ-
ไตรปิฎกก็มาพร้อมกับปฏิสัมภิทานั่นเทียว น่าชม ! ชื่อว่า กำลังของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีมาก."

พระศาสดาเสด็จไปที่ประชุมภิกษุสงฆ์


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องราวนี้ในโรงธรรมแล้ว1
ทรงดำริว่า " วันนี้ เราไป ควรอยู่ " เสด็จลุกจากพุทธไสยา ทรง
นุ่งผ้า 2 ชั้นที่ย้อมดีแล้ว ทรงรัดประคดเอวดุจสายฟ้า ทรงห่มจีวร
มหาบังสกุล ได้ขนาดสุคตประมาณ ปานผ้ารัตตกัมพล เสด็จออกจาก
พระคันธกุฎีอันมีกลิ่นหอมตลบ ไปยังโรงธรรม ด้วยความงามแห่ง
พระอากัปกิริยาที่ทรงย่างไปแล้ว ดุจพระยาคชสารตัวซับมันและดุจสีหะ
(และ) ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ เสด็จขึ้นบวรพุทธอาสน์ที่
บรรจงจัดไว้ในท่ามกลางแห่งโรงกลม ซึ่งประดับแล้ว ประทับนั่งที่
กลางอาสนะ ทรงเปล่งพระพุทธรังสีมีพรรณะ 6 ประการ เปรียบปาน
เทพดาผู้วิเศษ บันดาลท้องมหาสมุทรให้กระเพื่อมอยู่ (และ) ประดุจ
สุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ เหนือยอดเขายุคันธรฉะนั้น. แลเมื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า พอเสด็จมาถึง ภิกษุสงฆ์ก็หยุดสนทนา2 นิ่งเงียบ.

1. กถาปวตฺติ แปลว่า ความเป็นไปแห่งถ้อยคำ. 2. กถํ ปจฺฉินฺทิตฺวา ตัดขาซึ่งถ้อยคำ

ทรงรำพึงถึงอาการของภิกษุบริษัท


พระศาสดาทรงพิจารณาดูบริษัท ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน
ทรงรำพึงว่า " บริษัทนี้ งามยิ่งนัก, การคะนองมือก็ดี คะนองเท้า
ก็ดี เสียงไอก็ดี เสียงจามก็ดี แม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มี, ภิกษุ
เหล่านี้แม้ทั้งหมด มีความเคารพด้วยพุทธคารวะ อันเดชแห่งพระ-
พุทธเจ้าคุกคามแล้ว . เมื่อเรานั่ง, ( เฉยเสีย) ไม่พูดแม้ตลอดชั่วอายุ
ก็รูปไหน ๆ จักหายกเรื่องขึ้นพูดก่อนไม่, ชื่อว่าธรรมเนียมของการ
ยกเรื่องขึ้น เราควรรู้, เราเองจักพูดขึ้นก่อน" ดังนี้แล้ว ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงพรหม ตรัสถามว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า ? ก็แล
เรื่องอะไรที่พวกเธอหยุดค้างไว้ในระหว่าง ?" เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูล
ว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกหาได้เป็น
ผู้โง่แต่ในบัดนี้เท่านั้นไม่, แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้โง่แล้วเหมือนกัน;
อนึ่ง เราเป็นที่พำนักอาศัยของเธอเฉพาะในบัดนี้อย่างเดียวหามิได้, ถึง
ในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พำนักอาศัยแล้วเหมือนกัน; และในกาลก่อน
เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของแห่งโลกิยทรัพย์แล้ว, บัดนี้ ได้ทำให้
เป็นเจ้าของแห่งโลกุตรทรัพย์," อันภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะสดับเนื้อความนั้น
โดยพิสดาร ทูลอัญเชิญแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (เล่าว่า)

เรื่องมาณพเรียนศิลปะในกรุงตักกสิลา


ในอดีตกาล มาณพชาวพระนครพาราณสีคนหนึ่ง ไปยังกรุง
ตักกสิลาแล้ว เป็นธัมมันเตวาสิกของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อประสงค์