เมนู

พระจูฬปันถกเจริญภาวนาบรรลุพระอรหัต


ฝ่ายพระจูฬปันถกนั่งแลดูพระอาทิตย์ พลางลูบผ้าท่อนนั้น บริกรรม
ว่า " รโชหรณํ " รโชหรณํ." เมื่อท่านลูบท่อนผ้านั้นอยู่, ท่อนผ้าได้
เศร้าหมองแล้ว. ลำดับนั้น จึงคิดว่า " ท่อนผ้านี้สะอาดแท้ๆ แต่อาศัย
อัตภาพนี้จึงละปกติเดิมเสีย กลายเป็นของเศร้าหมองอย่างนี้ไปได้, สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ? ( ครั้นแล้ว ) เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม
เจริญวิปัสสนา.
พระศาสดาทรงทราบว่า " จิตของพระจูฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว "
จึงตรัสว่า " จูฬปันถก เธออย่าทำความหมายเฉพาะท่อนผ้านั้น ว่า
' เศร้าหมองแล้ว ติดธุลี; ' ก็ธุลีทั้งหลาย มีธุลีคือราคะเป็นต้น มีอยู่ใน
ภายในของเธอ, เธอจงนำ (คือกำจัด) มันออกเสีย" ดังนี้แล้ว ทรง
เปล่งพระรัศมี เป็นผู้มีพระรูปปรากฏดุจประทับนั่งตรงหน้า ได้ทรงภาษิต
คาถาเหล่านี้ว่า
"ราคะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า (ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ
ของราคะ; ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว
อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.
โทสะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า ( ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ
ของโทสะ; ภิกษุเหล่านั่น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว
อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โมหะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า ( ธุลี) ไม่; คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ
ของโมหะ; ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว
อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี."

ในกาลจบคาถา พระจูฬปันถกบรรลุพระอรหัต พร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ปิฎก 3 มาถึงแก่ท่านพร้อมกับปฏิสัมภิทา
ทีเดียว.

บุรพกรรมของพระจูฬปันถก


ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงทำ
ประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโท1ไหลออกจากพระนลาต2 ทรงเอาผ้า
สะอาดเช็ดที่สุดพระนลาต. ผ้าได้เศร้าหมองแล้ว. ท้าวเธอกลับได้
อนิจจสัญญาว่า3 "ผ้าสะอาดเห็นปานนี้อาศัยสรีระนี้ ละปกติแปรเป็น
เศร้าหมองไปได้, สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ," เพราะเหตุนั้น ผ้า
สำหรับเช็ดธุลีนั่นแล จึงเป็นปัจจัยของท่านแล้ว.
ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจ ได้น้อมน้ำทักษิโณทกเข้าไปถวาย
พระทศพล, พระศาสดาทรงปิดบาตรด้วยพระหัตถ์ ตรัสว่า "ชีวก
ภิกษุในวิหาร ยังมีอยู่มิใช่หรือ ?"
พระมหาปันถกกราบทูลว่า "ในวิหาร ภิกษุไม่มีมิใช่หรือ ?
พระเจ้าข้า." พระศาสดา ตรัสว่า "มี ชีวก." หมอชีวกส่งบุรุษไป
ด้วยสั่งว่า "พนาย ถ้ากระนั้น เธอจงไป จงรู้ว่าภิกษุในวิหารมีหรือ
ไม่มี.

1. เหงื่อ 2. หน้าฝาก 3. ความหวายว่าไม่เที่ยว