เมนู

ของพี่ชายเรา จักแยก (หมดเยื่อใย) ในเราแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย;
บัดนี้ เราจะต้องการอะไรด้วยศาสนานี้, เราจักเป็นคฤหัสถ์ทำบุญต่าง ๆ
มีทานเป็นต้นเลี้ยงชีพละ." วันรุ่งขึ้น เธอไปเพื่อจะสึกแต่เช้าตรู่.
พระศาสดา ทรงตรวจดูโลก ( คือหมู่สัตว์) เฉพาะในเวลาใกล้รุ่ง
ทรงเห็นเหตุนี้แล้ว จึงเสด็จล่วงหน้าไปก่อน ได้ทรงหยุดจงกรมอยู่ที่ซุ้ม
ประตูใกล้ทางที่พระจูพปันถกไป. พระจูฬปันถกเมื่อเดินไปพบพระศาสดา
จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคม.

พระศาสดาทรงรับรองให้อยู่ต่อไป


ขณะนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "จูฬปันถก นี่เธอจะไปไหน ?
ในเวลานี้."
จูฬปันถกทูลว่า " พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ข้า-
พระองค์ไปเพื่อจะสึก เพราะเหตุนั้น. "
พระศาสดา ตรัสว่า จูฬปันถก เธอชื่อว่าบรรพชาในสำนัก
ของเรา, แม้ถูกพี่ชายขับไล่ ทำไม จึงไม่มาสู่สำนักของเรา ? มาเถิด,
เธอจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอต้องอยู่ (ต่อไป ) ใน
สำนักของเรา" ดังนี้แล้ว ทรงเอาฝ่าพระหัตถ์อันมีพื้นวิจิตรไปด้วยจักร
ลูบเธอที่ศีรษะแล้ว พาไปให้นั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานท่อนผ้าที่
สะอาด ซึ่งทรงบันดาลขึ้นด้วยฤทธิ์ ด้วยตรัสสั่งว่า "จูฬปันถก"
เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ลูบท่อนผ้านี้ ด้วยบริกรรมว่า
" รโชหรณํ. รโชหรณํ" (ผ้าเช็ดธุลี ๆ) อยู่ที่นี้แหละ ครั้นเมื่อเขา
กราบทูลเวลาแล้ว, มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จไปเรือนของหมอชีวก
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้.

พระจูฬปันถกเจริญภาวนาบรรลุพระอรหัต


ฝ่ายพระจูฬปันถกนั่งแลดูพระอาทิตย์ พลางลูบผ้าท่อนนั้น บริกรรม
ว่า " รโชหรณํ " รโชหรณํ." เมื่อท่านลูบท่อนผ้านั้นอยู่, ท่อนผ้าได้
เศร้าหมองแล้ว. ลำดับนั้น จึงคิดว่า " ท่อนผ้านี้สะอาดแท้ๆ แต่อาศัย
อัตภาพนี้จึงละปกติเดิมเสีย กลายเป็นของเศร้าหมองอย่างนี้ไปได้, สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ? ( ครั้นแล้ว ) เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม
เจริญวิปัสสนา.
พระศาสดาทรงทราบว่า " จิตของพระจูฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว "
จึงตรัสว่า " จูฬปันถก เธออย่าทำความหมายเฉพาะท่อนผ้านั้น ว่า
' เศร้าหมองแล้ว ติดธุลี; ' ก็ธุลีทั้งหลาย มีธุลีคือราคะเป็นต้น มีอยู่ใน
ภายในของเธอ, เธอจงนำ (คือกำจัด) มันออกเสีย" ดังนี้แล้ว ทรง
เปล่งพระรัศมี เป็นผู้มีพระรูปปรากฏดุจประทับนั่งตรงหน้า ได้ทรงภาษิต
คาถาเหล่านี้ว่า
"ราคะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า (ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ
ของราคะ; ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว
อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.
โทสะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา
เรียกว่า ( ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ
ของโทสะ; ภิกษุเหล่านั่น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว
อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.