เมนู

จูฬปันถกถูกพระพี่ชายประฌาน


ทีนั้น พระมหาปันถก ได้กล่าวกะเธอว่า "จูฬปันถก เธอเป็น
คนอาภัพในศาสนานี้, โดย 4 เดือน แม้คาถาเดียวก็ไม่อาจเรียนได้,
ก็เธอจักยังกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร ? จงออกไปจากที่นี้
เสียเถิด." ดังนี้แล้ว ก็ขับออกจากวิหาร.
พระจูฬปันถกไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความเยื่อใยใน
พระพุทธศาสนา.
ก็ในกาลนั้น พระมหาปันถกเป็นภัตตุเทสก์. หมอชีวกโกมารภัจ
ถือระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปสู่อัมพวัน บูชา
พระศาสดา สดับธรรม ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้ว
เข้าไปหาพระมหาปันถก ถามว่า "ภิกษุในสำนักของพระศาสดา มี
จำนวนเท่าไร ขอรับ."
พระมหาปันถก. ภิกษุมีประมาณ 500 รูป.
หมอชีวก. ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ขอใต้เท้าได้พาภิกษุ 500 รูป
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข (ไป) รับภิกษาในเรือนของกระผม.
พระมหาปันถก. อุบาสก ภิกษุโง่ (รูปหนึ่ง) ชื่อจูฬปันถก
มีธรรมไม่งอกงาม, รูปจะเว้นเธอเสีย แล้วรับนิมนต์เพื่อภิกษุทั้งหลาย
ที่เหลือ.

พระจูฬปักถกหนีไปสึกแต่สึกไม่ได้


พระจูฬปันถกฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า " พระเถระ เมื่อรับนิมนต์
เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น ก็คัดเราไว้ภายนอกแล้วจึงรับ, จิต

ของพี่ชายเรา จักแยก (หมดเยื่อใย) ในเราแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย;
บัดนี้ เราจะต้องการอะไรด้วยศาสนานี้, เราจักเป็นคฤหัสถ์ทำบุญต่าง ๆ
มีทานเป็นต้นเลี้ยงชีพละ." วันรุ่งขึ้น เธอไปเพื่อจะสึกแต่เช้าตรู่.
พระศาสดา ทรงตรวจดูโลก ( คือหมู่สัตว์) เฉพาะในเวลาใกล้รุ่ง
ทรงเห็นเหตุนี้แล้ว จึงเสด็จล่วงหน้าไปก่อน ได้ทรงหยุดจงกรมอยู่ที่ซุ้ม
ประตูใกล้ทางที่พระจูพปันถกไป. พระจูฬปันถกเมื่อเดินไปพบพระศาสดา
จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคม.

พระศาสดาทรงรับรองให้อยู่ต่อไป


ขณะนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "จูฬปันถก นี่เธอจะไปไหน ?
ในเวลานี้."
จูฬปันถกทูลว่า " พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ข้า-
พระองค์ไปเพื่อจะสึก เพราะเหตุนั้น. "
พระศาสดา ตรัสว่า จูฬปันถก เธอชื่อว่าบรรพชาในสำนัก
ของเรา, แม้ถูกพี่ชายขับไล่ ทำไม จึงไม่มาสู่สำนักของเรา ? มาเถิด,
เธอจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอต้องอยู่ (ต่อไป ) ใน
สำนักของเรา" ดังนี้แล้ว ทรงเอาฝ่าพระหัตถ์อันมีพื้นวิจิตรไปด้วยจักร
ลูบเธอที่ศีรษะแล้ว พาไปให้นั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานท่อนผ้าที่
สะอาด ซึ่งทรงบันดาลขึ้นด้วยฤทธิ์ ด้วยตรัสสั่งว่า "จูฬปันถก"
เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ลูบท่อนผ้านี้ ด้วยบริกรรมว่า
" รโชหรณํ. รโชหรณํ" (ผ้าเช็ดธุลี ๆ) อยู่ที่นี้แหละ ครั้นเมื่อเขา
กราบทูลเวลาแล้ว, มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จไปเรือนของหมอชีวก
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้.