เมนู

3. เรื่องพระจูฬปันถกเถระ [17]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อว่าจูฬปันถก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุฏุฐาเนนปฺปมาเทน"
เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีได้ทาสเป็นสามี


ดังได้สดับมา ธิดาแห่งสกุลของธนเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
ในเวลาเขาเจริญวัย มารดาบิดารักษาไว้อย่างกวดขันที่ชั้นบนแห่ง
ปราสาท 7 ชั้น (แต่นาง) เป็นสตรีโลเลในบุรุษ เพราะความเป็น
ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นสาว จึงทำสันถวะกับทาสของตนเอง
กลัวว่า " คนอื่น ๆ จะพึงรู้กรรมนี้ของเราบ้าง" จึงพูดอย่างนี้ว่า
"เราทั้งสองไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้, ถ้ามารดาบิดาของฉันทราบความเสียหาย
นี้ไซร้ จักห้ำหั่นเราให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่; เราจะไปสู่ที่ต่างถิ่นแล้ว
อยู่." ทั้งสองคนนั้น ถือเอาทรัพย์อันเป็นสาระที่จะพึงนำไปได้ด้วยมือ
ในเรือน ออกไปทางประตูด้านเหนือแล้ว ชักชวนกันว่า " เราทั้งสอง
จักต้องไปอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่ชนเหล่าอื่นไม่รู้จัก" ดังนี้แล้ว
ทั้งสองคนได้เดินไปแล้ว.

มีบุตรด้วยกันสองคน


เมื่อเขาทั้งสองอยู่ในที่แห่งหนึ่ง นางตั้งครรภ์แล้ว เพราะอาศัย
การอยู่ร่วมกัน.

นางอาศัยความที่ครรภ์แก่เต็มที่ จึงปรึกษากับสามีนั้นว่า " ครรภ์
ของฉันถึงความแก่เต็มที่แล้ว, ธรรมดาการตลอดบุตรในที่ซึ่งเหินห่าง
จากญาติพวกพ้อง ย่อมเป็นเหตุนำความทุกข์มาให้แก่เราทั้งสอง, เรา
ทั้งสองไปสู่เรือนแห่งสกุลเดิมเถิด," เขาพูดผัดเพี้ยนว่า "วันนี้ จะไป,
พรุ่งนี้ จึงค่อยไปเถิด," ยังวันทั้งหลายให้ล่วงเลยไปเสีย เพราะกลัวว่า
" ถ้าเราไปที่นั้น, ชีวิตของเราย่อมไม่มี." นางคิดว่า " เจ้านี่ เขลา
ไม่อาจไปเพราะความที่ตนมีโทษมาก, ธรรมดามารดาบิดา มีความ
เกื้อกูลโดยส่วนเดียวเท่านั้น, เจ้านี่ จะไปหรือไม่ไปก็ตาม, เราจักไปละ."
ครั้นเมื่อเขาออกจากเรือนไปแล้ว นางเก็บงำเครื่องเรือน บอกความที่ตน
จะไปสู่เรือนแห่งสกุล แก่ชาวบ้านที่อยู่ถัดกันแล้ว เดินทางไป. ฝ่ายสามี
(กลับ) มาเรือน ไม่เห็นภริยา ถามผู้คุ้นเคย ทราบว่า. " ไปเรือน
แห่งสกุล" จึงรีบติดตามไปทันในระหว่างทาง. แม้ภริยาของเขานั้น
ก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง. เขาถามว่า "นี่อะไรกัน ? น้อง"
ภริยา. พี่ ลูกชายคนที่หนึ่งคลอดแล้ว.
สามี. บัดนี้ เราจักทำอย่างไร ?
ทั้งสองคนคิดเห็นร่วมกันว่า " เราทั้งสองไปสู่เรือนแห่งสกุล เพื่อ
ประโยชน์แก่กรรมใด. กรรมนั้นสำเร็จแล้วในระหว่างทางเทียว, เรา
จักไปที่นั้นทำอะไร ? กลับกันเถิด" ดังนี้แล้ว ก็พากันกลับ.
เขาทั้งสองได้ตั้งชื่อเด็กนั้นแล ว่า "ปันถก" เพราะเกิดใน
หนทาง. ต่อกาลไม่นานนัก นางตั้งครรภ์แม้อีก. พฤติการณ์ทั้งปวง
พึงให้พิสดาร โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแล.

ตั้งชื่อเด็กทั้งสอง


เพราะเด็กแม้นั้นก็เกิดในหนทาง มารดาบิดาจึงตั้งชื่อบุตรผู้เกิด
ก่อนว่า "มหาปันถก." ตั้งชื่อบุตรผู้เกิดภายหลังว่า " จูฬปันถก."
แม้สองสามีภริยานั้น ก็พาเด็กทั้งสองไปสถานที่อยู่ของตนตามเดิม.

มหาปันถกแปลกใจในเรื่องญาติของตน


เมื่อสองสามีภริยาอยู่ในที่นั้น เด็กชายมหาปันถก ได้ยินเด็กชาย
อื่น ๆ เรียก (ผู้นั้นผู้นี้ ) ว่า " อา ลุง" และว่า "ปู่ (ตา) ย่า
(ยาย) " จึงถามมารดาว่า " แม่ เด็กอื่น ๆ เรียก ( ผู้นั้น ) ว่า
ปู่ ( ตา ), เรียก ( ผู้นี้ ) ว่า ' ย่า ( ยาย ),' พวกญาติของเราไม่มี
บ้างหรือ ?"
มารดา. เออ พ่อ พวกญาติของเราในที่นี้ไม่มี, แต่ตาของพวกเจ้า
ชื่อ ธนเศรษฐี มีอยู่ในพระนครราชคฤห์, พวกญาติของเราเป็นอันมาก
มีอยู่ในพระนครนั้น.
มหาปันถก. ทำไม พวกเราจึงไม่ไปในที่นั้นเล่า ? แม่.
นางไม่บอกเหตุที่ตนมากบุตร เมื่อบุตรทั้งสองพูดรบเร้าหนักเข้า
จึงบอกแก่สามีว่า " เด็กเหล่านี้รบกวนฉันเหลือเกิน, มารดาบิดาเห็น
พวกเราแล้ว จักกินเนื้อ ( เทียว ) หรือ ? มาเถิด บัดนี้เราทั้งสอง
จักแสดงตระกูลแห่งตา ยาย แก่พวกเด็ก."
สามี. ฉัน ไม่อาจจะเข้าหน้าได้, แต่จักพาเจ้าพวกนั้นไปได้.
ภริยา. ดีละ ควรที่เด็กทั้งสองจะพบเห็นตระกูลของตาด้วยอุบาย
อย่างใดอย่างหนึ่งแท้.