เมนู

ให้บุตรีแก่เขาด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนมีปัญญาเห็นปานนี้ หม่อม
ฉันไม่เคยเห็น."

คุณธรรมเป็นเหตุเจริญแห่งยศ


พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " มหาบพิตร ชีวิต
ของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอยู่ประกอบด้วยธรรม; ก็กรรม
มีกรรมของโจรเป็นต้น ย่อมเบียดเบียนบีบคั้น (ผู้ทำ) ในโลกนี้
ทั้งในโลกหน้า ชื่อว่าความสุข อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ ก็ไม่มี, ก็บุรุษทำ
การรับจ้างก็ดี ทำนาก็ดี เลี้ยงชีวิตในกาลเสื่อมทรัพย์นั่นแล ชื่อว่าชีวิต
ประกอบด้วยธรรม, อันความเป็นใหญ่ย่อมเจริญขึ้นอย่างเดียว แก่คนผู้
ถึงพร้อมด้วยความเพียร บริบูรณ์ด้วยสติ มีการงานบริสุทธิ์ทางทวาร
ทั้งหลาย มีกายและวาจาเป็นต้น มีปกติใคร่ครวญด้วยปัญญาแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมไตรทวาร มีกายทวาร เป็นต้น เลี้ยงชีวิตโดยธรรม ตั้งอยู่
ในอันไม่เหินห่างสติเห็นปานนั้น." ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
2. อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฒติ.
" ยศย่อมเจริญโดยยิ่ง แก่คนผู้มีความขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ
สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺฐานวโต คือ ผู้มีความเพียงเป็น
เหตุลุกขึ้น.

บทว่า สตีมโต คือ สมบูรณ์ด้วยสติ.
บทว่า สุจิกมฺมสฺส คือ ประกอบด้วยการงานทั้งหลาย มีการงาน
ทางกายเป็นต้น อันหาโทษมิได้ คือหาความผิดมิได้.
บทว่า นิสมฺมการิโน ได้แก่ ใคร่ครวญ คือไตร่ตรองอย่างนี้ว่า
" ถ้าผลอย่างนี้จักมี เราจักทำอย่างนี้." หรือว่า " เมื่อการงานนี้อันเรา
ทำแล้วอย่างนี้ ผลชื่อนี้จักมี" ดังนี้แล้ว ทำการงานทั้งปวงเหมือน
แพทย์ตรวจดูต้นเหตุ (ของโรค) แล้วจึงแก้โรคฉะนั้น.
บทว่า สญฺญตสฺส ได้แก่ สำรวมแล้ว คือ ไม่มีช่อง ด้วยทวาร
ทั้งหลายมีกายเป็นต้น.
บทว่า ธมฺมชีวิโน คือ ผู้เป็นคฤหัสถ์ เว้นความโกงต่าง ๆ
มีโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยการงานอันชอบทั้งหลาย มีทำนา
และเลี้ยงโคเป็นต้น, เป็นบรรพชิต เว้นอเนสนากรรมทั้งหลาย1 มีเวช-
กรรม2และทูตกรรม3เป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยภิกษาจาร4 โดยธรรม คือโดย
ชอบ.
บทว่า อปฺปมตฺตสฺส คือ มีสติไม่ห่างเหิน.
บทว่า ยโสภิวฑฺฒติ ความว่า ยศที่ได้แก่ความเป็นใหญ่ ความมี
โภคสมบัติและความนับถือ และที่ได้แก่ความมีเกียรติและการกล่าว
สรรเสริญ ย่อมเจริญ.
ในกาลจบพระคาถา กุมภโฆสก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ชน

1. กรรมคือการแสวงหา (ปัจจัย) อันไม่ควร. 2. กรรมของหมอหรือกรรมหรือความเป็นหมอ.
3. กรรมของคนรับใช้ หรือกรรมคือความเป็นผู้รับใช้. 4. การเที่ยวเพื่อภิกษา.

แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
แล้ว. เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนอย่างนี้แล.
เรื่องกุมภโฆสก จบ.

3. เรื่องพระจูฬปันถกเถระ [17]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อว่าจูฬปันถก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุฏุฐาเนนปฺปมาเทน"
เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีได้ทาสเป็นสามี


ดังได้สดับมา ธิดาแห่งสกุลของธนเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
ในเวลาเขาเจริญวัย มารดาบิดารักษาไว้อย่างกวดขันที่ชั้นบนแห่ง
ปราสาท 7 ชั้น (แต่นาง) เป็นสตรีโลเลในบุรุษ เพราะความเป็น
ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นสาว จึงทำสันถวะกับทาสของตนเอง
กลัวว่า " คนอื่น ๆ จะพึงรู้กรรมนี้ของเราบ้าง" จึงพูดอย่างนี้ว่า
"เราทั้งสองไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้, ถ้ามารดาบิดาของฉันทราบความเสียหาย
นี้ไซร้ จักห้ำหั่นเราให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่; เราจะไปสู่ที่ต่างถิ่นแล้ว
อยู่." ทั้งสองคนนั้น ถือเอาทรัพย์อันเป็นสาระที่จะพึงนำไปได้ด้วยมือ
ในเรือน ออกไปทางประตูด้านเหนือแล้ว ชักชวนกันว่า " เราทั้งสอง
จักต้องไปอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่ชนเหล่าอื่นไม่รู้จัก" ดังนี้แล้ว
ทั้งสองคนได้เดินไปแล้ว.

มีบุตรด้วยกันสองคน


เมื่อเขาทั้งสองอยู่ในที่แห่งหนึ่ง นางตั้งครรภ์แล้ว เพราะอาศัย
การอยู่ร่วมกัน.