เมนู

ติเตียนว่า "ท่านทั้งหลายดูกรรมของสมณะเถิด ในกาลมีจักษุท่านนอน
หลับเสีย ไม่ทำอะไร, ในกาลมีจักษุวิกลเดี๋ยวนี้ไว้ตัวว่า 'จงกรม' ทำ
สัตว์มีประมาณถึงเท่านี้ให้ตายแล้ว ท่านคิดว่า ' จักทำประโยชน์' กลับ
ทำการหาประโยชน์มิได้."
พวกเธอไปกราบทูลพระตถาคตแล้วในขณะนั้นว่า "พระเจ้าข้า
พระจักขุปาลเถระ ไว้ตัวว่า 'จงกรม' ทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ตาย
แล้ว."
พระศาสดาตรัสถามว่า "ท่านทั้งหลายเห็นเธอกำลังทำสัตว์มีชีวิต
เป็นอันมากให้ตายแล้วหรือ ?"
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า "ไม่ได้เห็น พระเจ้าข้า."
ศ. ท่านทั้งหลายไม่เห็นเธอ (ทำดังนั้น) ฉันใดแล ถึงเธอก็ไม่
เห็นสัตว์มีชีวิตเหล่านั้น ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าเจตนาเป็นเหตุ
ให้ตาย ของพระขีณาสพทั้งหลาย (คือบุคคลผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว) มิได้มี.
ภ. พระเจ้าข้า เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหัตมีอยู่ เหตุไฉนท่านจึง
กลายเป็นคนมีจักษุมืดแล้ว.
ศ. ด้วยอำนาจกรรมอันตนทำไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย.
ภ. ก็ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้แล้ว พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของพระจักขุปาลเถระ


พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงฟัง" ดังนี้แล้ว (ตรัสเล่าเรื่องว่า)
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพาราณสี ดำรงราชย์อยู่ในกรุงพาราณสี
หมอผู้หนึ่งเที่ยวทำเวชกรรมอยู่ในบ้านและนิคม เห็นหญิงทุรพลด้วยจักษุ

คนหนึ่ง จึงถามว่า "ความไม่ผาสุกของท่านเป็นอย่างไร ?
หญิงนั้นตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่แลเห็นด้วยดวงตาก."
หมอกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจักทำยาให้แก่ท่าน"
ญ. ทำเถิด นาย.
ม. ท่านจักให้อะไรแก่ข้าพเจ้า ?
ญ. ถ้าท่านอาจจะทำดวงตาของข้าพเจ้าให้กลับเป็นปกติได้,
ข้าพเจ้ากับบุตรและธิดา จักยอมเป็นทาสีของท่าน.
ม. รับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ประกอบยาให้แล้ว. ดวงตากลับ
เป็นปกติ ด้วยยาขนานเดียวเท่านั้น.
หญิงนั้นคิดแล้วว่า "เราได้ปฏิญญาแก่หมอนั้นไว้ว่า 'จักพร้อม
ด้วยบุตรธิดา ยอมเป็นทาสีของเขา ' ก็แต่เขาจักไม่เรียกเราด้วยวาจา
อันอ่อนหวาน เราจักลวงเขา." นางอันหมอมาแล้ว ถามว่า " เป็น
อย่างไร ? นางผู้เจริญ " ตอบว่า "เมื่อก่อน ดวงตาของข้าพเจ้า
ปวดน้อย เดี๋ยวนี้ปวดมากเหลือเกิน." หมอคิดว่า "หญิงนี้ประสงค์
ลวงเราแล้วไม่ให้อะไร ความต้องการของเราด้วยค่าจ้างที่หญิงนี้ให้แก่เรา
มิได้มี, เราจักทำเขาให้จักษุมืดเสียเดี๋ยวนี้" แล้วไปถึงเรือนบอกความ
นั้นแก่ภรรยา. นางได้นิ่งเสีย. หมอนั้นประกอบยาขนานหนึ่งแล้วไปสู่
สำนักหญิงนั้น บอกให้หยอดว่า "นางผู้เจริญ ขอท่านจงหยอดยาขนาน
นี้." ดวงตาทั้งสองข้าง ได้ดับวูบแล้วเหมือนเปลวไฟ. หมอนั้นได้
(มาเกิด) เป็นจักขุปาลภิกษุแล้ว.
พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่บุตรของเราทำแล้วใน
กาลนั้น ติดตามเธอไปข้างหลัง ๆ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปกรรมนี้

ย่อมตามผู้ทำไป เหมือนล้ออันหมุนตามรอยเท้าโคพลิพัท (คือโคที่เขา
เทียมเกวียนบรรทุกสินค้า) ตัวเข็นธุระไปอยู่" ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว
พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชา ได้ตรัสพระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับ
พระราชสาสน์ ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว ด้วยพระราชลัญจกรว่า
1. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ.
"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จแล้วด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี
ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น."


แก้อรรถ


จิตที่เป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด ต่างโดยจิตมีกามาวจรกุศลจิต
เป็นต้น ชื่อว่า "มโน" ในพระคาถานั้น. ถึงอย่างนั้น ในบทนี้
เมื่อนิยม กะ กำหนดลง ด้วยอำนาจจิตที่เกิดขึ้นแก่หม้อนั้นในคราวนั้น
ย่อมได้จำเพาะจิต ที่เป็นไปกับด้วยโทมนัส ประกอบด้วยปฏิฆะ-
(อย่างเดียว).
บทว่า ปุพฺพงฺคมา คือ ชื่อว่า มาตามพร้อมด้วยจิตนั้น อันเป็น
หัวหน้าไปก่อน.
บทว่า ธมฺมา คือ ชื่อว่า ธรรมเป็น 4 อย่าง ด้วยอำนาจ
คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม และนิสสัตตนิชชีวธรรม. ในธรรม
4 ประการนั้น ธรรมศัพท์นี้ในคำว่า