เมนู

ข้าพระองค์ ก็เป็นการเหมาะดี.
พระราชา. เป็นได้ซิ ผู้เจริญ, ทรัพย์ของเจ้ามีเท่าไรล่ะ ?
กุมภโฆสก. มี 40 โกฏิ พระเจ้าข้า.
พระราชา. ได้อะไร ( ขน) จึงจะควร ?
กุมภโฆสก. เกวียนหลาย ๆ เล่ม พระเจ้าข้า.

กุมภโฆสกได้รับตำแหน่งเศรษฐี


พระราชา รับสั่งให้จัดเกวียนหลายร้อยเล่มส่งไป ให้ขนทรัพย์
นั้นมา ให้ทำเป็นกองไว้ที่หน้าพระลานหลวงแล้ว รับสั่งให้ชาวกรุง
ราชคฤห์ (มา) ประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า "ในพระนครนี้ ใคร
มีทรัพย์ประมาณเท่านี้บ้าง ?" เมื่อทวยราษฎร์กราบทูลว่า "ไม่มี
พระเจ้าข้า " ตรัสถามว่า " ก็เราทำอะไร แก่เขาจึงควร ?" เมื่อพวก
นั้นกราบทูลว่า " ทรงทำความยกย่องแก่เขา สมควร พระเจ้าข้า" จึง
ทรงตั้งกุมภโฆสกนั้น ในตำแหน่งเศรษฐี ด้วยสักการะเป็นอันมาก
พระราชทานบุตรีของหญิงนั้นแก่เขาแล้ว เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดา
พร้อมกับเขา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระองค์จงทอดพระเนตรบุรุษนี้ ชื่อว่าผู้มีปัญญาเห็นปานนี้ ไม่มี, เขา
แม้มีสมบัติถึง 40 โกฏิ ก็ไม่ทำอาการเย่อหยิ่ง หรืออาการสักว่าความ
ทะนงตัว, ( ทำ) เป็นเหมือนคนกำพร้า นุ่งผ้าเก่า ๆ ทำการรับจ้าง
ที่ถนนอันเป็นที่อยู่ของคนรับจ้าง เลี้ยงชีพอยู่ หม่อมฉันรู้ได้ด้วยอุบาย
ชื่อนี้, ก็แลครั้นรู้แล้วสั่งให้เรียกมา ไล่เลียงให้รับว่ามีทรัพย์แล้ว ให้ขน
ทรัพย์นั้นมา ตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี. (ใช่แต่เท่านั้น) หม่อมฉันยัง

ให้บุตรีแก่เขาด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนมีปัญญาเห็นปานนี้ หม่อม
ฉันไม่เคยเห็น."

คุณธรรมเป็นเหตุเจริญแห่งยศ


พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " มหาบพิตร ชีวิต
ของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอยู่ประกอบด้วยธรรม; ก็กรรม
มีกรรมของโจรเป็นต้น ย่อมเบียดเบียนบีบคั้น (ผู้ทำ) ในโลกนี้
ทั้งในโลกหน้า ชื่อว่าความสุข อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ ก็ไม่มี, ก็บุรุษทำ
การรับจ้างก็ดี ทำนาก็ดี เลี้ยงชีวิตในกาลเสื่อมทรัพย์นั่นแล ชื่อว่าชีวิต
ประกอบด้วยธรรม, อันความเป็นใหญ่ย่อมเจริญขึ้นอย่างเดียว แก่คนผู้
ถึงพร้อมด้วยความเพียร บริบูรณ์ด้วยสติ มีการงานบริสุทธิ์ทางทวาร
ทั้งหลาย มีกายและวาจาเป็นต้น มีปกติใคร่ครวญด้วยปัญญาแล้วจึงทำ
ผู้สำรวมไตรทวาร มีกายทวาร เป็นต้น เลี้ยงชีวิตโดยธรรม ตั้งอยู่
ในอันไม่เหินห่างสติเห็นปานนั้น." ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
2. อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฒติ.
" ยศย่อมเจริญโดยยิ่ง แก่คนผู้มีความขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ
สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺฐานวโต คือ ผู้มีความเพียงเป็น
เหตุลุกขึ้น.